ปราชญ์พุทธศาสนาตะวันตกรุ่นเก่า ยังเข้าใจสับสน ระหว่างพุทธธรรม กับความคิดเดิมในวัฒนธรรมของตน ระยะที่ 1 เรื่องนี้ก็สืบเนื่องจากที่พูดข้างต้น ดังได้กล่าวแล้ว ว่า คนที่เรียกกันว่านักปราชญ์ทางพุทธ ศาสนาในดินแดนตะวันตกนั้น บ้างก็เป็นเพียงนักวิชาการชึ่งยังเป็นชาวคริสต์อยู่ บางคนถึงแม้มาเป็นชาวพุทธ แล้วก็มีพื้นฐานความคิดเดิมติดมาจากศาสนาคริสต์ นอกจากนั้นในยุคแรกนี้ฝรั่งมาเอเชียในกระแสของลัทธิ อาณานิคม โดยเฉพาะอังกฤษมาพบอารยธรรมเก่าแก่ที่อินเดีย ก็รู้จักและคุ้นกับแนวคิดของศาสนาฮินดูที่ยึดมั่น ในลัทธิอาตมัน พร้อมกันนั้น พระพุทธศาสนาที่ฝรั่งรู้จักในยุคแรกนั้นก็เป็นฝ่ายมหายานซึ่งเข้าไปในตะวันตกก่อน ฉะนั้น ฝรั่งที่ศึกษาพุทธศาสนายุคแรกๆ ซึ่งยังไม่คุ้นกับบรรยากาศทางความคิดแบบใหม่ จึงยังมีอิทธิ พลความคิดแบบกรีกและศาสนาคริสต์เดิมชักพามาก และมักตีความพระพุทธศาสนาตามแนวคิดฮินดู หรือไม่ก็ แบบมหายาน ทั้งนี้จะเห็นว่า ไม่ว่าจะเป็น Max Muller ปราชญ์ใหญ่ทางภาษาสันสกฤตก็ตาม หรือทางด้านภาษา บาลี จะเป็น Rhys Davids ทั้งสามีและภรรยา กับทั้ง Miss I. B. Horner ชึ่งล้วนแต่ได้เป็นนายกสมาคมบาลี ปกรณ์ สืบต่อกันมา ก็ตาม ตลอดจนนักศึกษาหรือจะเรียกว่านักปราชญ์พุทธศาสนาของตะวันตกหลายคน มักมี ความคิดที่จะมองหรือจะหาทางให้พระพุทธศาสนาสอนเรื่องอัตตา หรือยอมรับว่ามีอัตตาให้ได้ ยกตัวอย่าง Miss I. B. Horner นั้น ก็อย่างที่กล่าวแล้วว่าเป็นปราชญ์ทางภาษาบาลี แต่พื้นฐานเดิม เป็นฝรั่งในประเทศคริสต์ศาสนา มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องตัวตนเป็นฐานความคิดที่ยึดมั่นอยู่ นอกจากแปล คัมภีร์ภาษาบาลีเป็นภาษาอังกฤษแล้ว ครั้งหนึ่งก็เคยไปทำหนังสือร่วมกับ Coomaraswamy (เพียงแค่ชื่อก็ฉาย ความเป็นฮินดูออกมาแล้ว) ให้ชื่อว่า The Living Thought of Gotama the Buddha ในตอนที่ว่าด้วย Self (อัตตา/ตน) พุทธพจน์แรกที่สองท่านนี้ยกมา ก็คือคาถาธรรมบทว่า " " อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ " พุทธภาษิตนี้ ชาวพุทธไทย แม้แต่ชาวบ้านที่แทบจะไม่ได้ศึกษาอะไรเลย แต่เพราะความที่คุ้นกับ บรรยากาศในพระพุทธศาสนา และเป็นพุทธภาษิตที่คุ้นหู ก็จึงแปลกันได้ว่า " ตนเป็นที่พึ่งของตน " และเข้าใจ ความหมายกันดีพอสมควร แต่ I. B. Horner และ Coomaraswamy พอเห็นว่ามีคำ อตฺตา/ตนŽ อยู่่ด้วยกัน 2 ครั้งในพุทธ ภาษิตนี้ แทนที่จะเข้าใจอย่างที่ชาวพุทธรู้กัน ก็ไปนึกถึง อัตตา 2 อย่าง แล้วก็คงจะแปลความหมายไปตามแนว คิดคำสอนของฮินดู หรือเอาพระพุทธศาสนาไปโยงกับศาสนาฮินดู ซึ่งถือว่ามีอัตตา หรืออาตมัน 2 อย่าง ได้แก่ อาตมันใหญ่ เรียกว่า ปรมาตมัน กับอาตมันเฉพาะบุคคล เรียกว่า ชีวาตมัน ปรากฏว่า I. B. Horner กับ Coomaraswamy แปลพุทธภาษิต ในคาถา ธัมมบท ที่ 160 อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ . . .นี้ ว่า " The Self is lord of the self . . . "1 พึงสังเกตว่า Self แรกใช้ S ใหญ่ ส่วน self หลังใช้ s เล็ก ทำนองว่า อัตตาใหญ่ เป็นนาถะของอัตตาเล็ก ทั้งสองท่านได้เจอพุทธภาษิตอีกบทหนึ่งว่า " อตฺตนา ว กตํ ปาปํ อตฺตนา สงฺกิลิสฺสติ อตฺตนา อกตํ ปาปํ อตฺตนา ว วิสุชฺฌติ " (ขุ.ธ.25/22/37) ซึ่งชาวพุทธทั่วไปก็เข้าใจกันไม่ยาก ตามคำแปลว่า " ตัวทำชั่ว ตัวก็เศร้าหมองเอง ตัวไม่ทำชั่ว ตัวก็หมดจดเอง " พอเจออย่างนี้ ผู้ถือลัทธิอัตตา/อาตมัน ก็คงงงไปพักหนึ่งว่า อัตตา/อาตมัน/ตัวตน ซึ่งเป็นสิ่งเที่ยงแท้ ถาวร จะมาทำความชั่วได้อย่างไร ในที่สุดก็เลยเอาอัตตา/ตน ในกรณีนี้ไปจัดเป็น อัตตาเล็ก ทั้งสองท่านได้แยกหัวข้อย่อยในหนังสือ ตอนที่ว่าด้วย Self นี้ ออกเป็น 3 หัวข้อย่อย คือ (a) The Two Selves (b) The Great Self แล้วก็ (c) The Little Self ใน 3 หัวข้อย่อยนี้ ผู้รวบรวมได้ยกพุทธพจน์อื่นๆ มาแปลไว้อีกมากมาย ตั้งแต่หน้า 174 ไปถึงหน้า 192 ทำให้ตอนที่ว่าด้วย Self (อัตตา/ตัวตน) ยาวรวมเกือบ 20 หน้า นี่คือตัวอย่างความเข้าใจของคนที่เรียกว่าเป็น ปราชญ์ตะวันตกรุ่นค่อนข้างเก่า ฝรั่งในประเทศตะวันตกเองนั้น ย้อนหลังไปไม่กี่ปีนี้ น้อยคนนักจะเข้าใจพุทธศาสนาได้ถูกต้อง ซึ่งก็ต้อง เห็นใจเขา เพราะอิทธิพลความคิดที่ติดมาจากพื้นฐานวัฒนธรรมเดิมมีกำลังชักนำให้มองผิดเพี้ยนหรือเอียงไป เอกสารของวัดพระธรรมกาย จึงไม่สมควรจะไปยกย่องนับถือเขามากนักถึงกับให้เป็น " ปราชญ์ใหญ่ทางพระ พุทธศาสนา . . . ที่มีชื่อเสียงก้องโลก " ควรจะดูเพียงว่า คนใดเข้าใจดีขึ้นมา ก็อนุโมทนาเขาไป นอกจากพวกที่เข้าใจว่า พระพุทธศาสนาสอนว่ามีอัตตาในขั้นสุดท้ายที่นอกเหนือจากขันธ์ 5 แล้ว บาง พวกก็เข้าใจผิดไปอีกแบบหนึ่งว่า พระพุทธศาสนาสอนว่านิพพานเป็นการดับอัตตา แม้แต่หนังสืออ้างอิงใหญ่ๆ อย่าง Encyclopaedia Britannica ก็ยังติดความเข้าใจผิดๆ มาเขียนกันจนบัดนี้ เช่น พูดถึงนิพพานเป็นการดับอัตตา (ที่จริงตามหลักพระพุทธศาสนา ไม่มีอัตตาที่จะต้องดับ) แห่งหนึ่งว่า " The approaches to the divine or sacred are various rather than uniform . . . , it moves toward the ultimate goal: the annihilation of the self, . . . , Nirvana (the state of bliss) in Buddhism, . . ."1 "วิธีเข้าถึงทิพยภาวะหรือภาวะศักดิ์สิทธิ์นั้น แตกต่างกันหลากหลาย มากกว่าจะเป็นรูปแบบเดียว . . . เป็นการก้าว สู่จุดหมายสูงสุด คือการดับสลายอัตตา, . . . ,ได้แก่นิรวาณ (นิพพานัภาวะบรมสุข) ในพุทธศาสนา, . . . ,"