พระไตรปิฎกบาลีฉบับสากลโดยรูปแบบ ยังไม่มี แต่โดยเนื้อหา พระไตรปิฎกบาลีเป็นสากลตลอดมา พระไตรปิฎกบาลีอักษรโรมันของ Pali Text Society ที่จะเรียกได้ว่า "เป็นสากล" ก็มีความหมายอยู่ อย่างเดียว คือมีความได้เปรียบในแง่ที่ใช้อักษรฝรั่ง ซึ่งเรียกเป็นทางการว่าอักษรโรมัน อักษรฝรั่งนั้นมากับภาษาอังกฤษ ซึ่งเกือบจะเป็นภาษากลางของโลก คนอ่านกันทั่วไป ชาวพุทธใน ประเทศต่างๆ ที่อ่านพระไตรปิฎกภาษาบาลีนั้น อ่านอักษรของกันและกันไม่ค่อยได้ อย่างพระไทยหรือคนไทยก็ อ่านพระไตรปิฎกบาลีฉบับอักษรสิงหลของลังกาไม่ค่อยได้ หรือจะอ่านฉบับอักษรพม่าก็อ่านไม่ค่อยเป็น คนพม่า ก็เช่นเดียวกัน จะอ่านของไทยหรือของลังกาก็ไม่ค่อยได้ คนลังกาก็อ่านของไทยหรือของพม่าไม่ค่อยเป็น อย่างนี้ เป็นต้น แต่คนทุกประเทศนี้รู้จักอักษรฝรั่ง เวลาจะเขียนเรื่องพระพุทธ ศาสนาให้คนต่างชาติอ่าน ก็เลยมาใช้ พระไตรปิฎกบาลีฉบับอักษรโรมันซึ่งเป็นอักษรฝรั่ง อันนี้เป็นเหตุให้ฉบับของ Pali Text Society ได้รับการอ้างอิง และใช้กันมากกว่า แต่ถ้าว่าถึงเนื้อหาข้างในแล้ว ก็อยู่ที่ว่า ใครทำก่อนทำหลัง ฉบับที่ทำทีหลังก็ได้เปรียบ อย่างที่พูดไป แล้ว ฉบับของ Pali Text Society นั้นพิมพ์ทีหลังฉบับของลังกา ไทย และพม่า จึงมีโอกาสสอบทานเทียบเคียง ฉบับทั้งสามนั้น แล้วทำเชิงอรรถได้มากหน่อย แต่ต่อมาตอนหลังไทยก็ดี พม่าเป็นต้นก็ดี ก็มีีการตรวจชำระกัน ใหม่ อย่างของพม่า ก็มีฉบับ ฉัฏฐสังคีติ ซึ่งตรวจชำระสมัยฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ช่วง พ.ศ 2500 ซึ่งมีพระสงฆ์ และนักปราชญ์ประเทศต่างๆ ไปร่วมประชุมมาก ตามประวัติดังที่ว่ามา เวลานี้พระไตรปิฎกบาลีฉบับฉัฏฐ-สังคีติของพม่าก็จึงได้รับความนิยมมาก เมื่อ ใครจะตรวจชำระพระไตรปิฎกกันใหม่ ไม่มีใครไปเอาฉบับอักษรโรมันของ Pali Text Society เป็นแบบ มีแต่เขา ไปเอาฉบับฉัฏฐสังคีติของพม่าเป็นหลัก แล้วก็เอาฉบับอื่นๆ รวมทั้งฉบับอักษรโรมันนั้นมาเทียบเคียง ยกตัวอย่าง เช่น พระไตรปิฎกบาลีฉบับมหาจุฬาฯ เมื่อตั้งฉบับของไทยเราเองเป็นฐานแล้ว ก็สอบทานโดยให้ความสำคัญแก่ ฉบับฉัฏฐสังคีตินั้น หรือฉบับอักษรเทวนาครี ที่ท่านโกเอ็นก้าทำ สำหรับใช้ในประเทศอินเดีย ก็เอาตามฉบับฉัฏฐ สังคีติของพม่าเลยทีเดียว เพราะฉะนั้น ที่ว่าพระไตรปิฎกบาลีอักษรโรมันของสมาคมบาลีปกรณ์ หรือ Pali Text Society เป็นฉบับ สากลอะไรนั้น ก็จึงไม่ได้มีความหมายอะไร นอกเสียจากว่าคนระหว่างประเทศได้อาศัยอักษรฝรั่งเป็นสื่อที่จะได้ อ่านกันระหว่างประเทศได้เท่านั้นเอง ประเทศไทยเราเวลานี้ เมื่อทำพระไตรปิฎกบาลี พร้อมทั้งอรรถกถา ซึ่งตอนนี้มีคำแปลภาษาไทยด้วย แล้ว เป็นฉบัับคอมพิวเตอร์ ก็คิดว่า ชาวพุทธทั่วไปไม่ควรจะต้องไปอาศัยฉบับอักษรโรมันของฝรั่งซึ่งราคาแพง มาก1 เพียงเพื่อจะค้นเทียบเลข หน้าคัมภีร์ในเวลาที่คนชาติอื่นเขาอ้างอิง ก็จึงใช้วิธีเอาเลขหน้าของฉบับอักษร โรมันของสมาคมบาลีปกรณ์มาใส่ไว้ในฉบับของเราด้วย พร้อมกันนั้นก็สามารถกดปุ่มแปลงบาลีอักษรไทยเป็น บาลีอักษรโรมันบนหน้าจอได้ด้วย เพราะฉะนั้นความจำเป็นในการที่จะใช้พระไตรปิฎกบาลีอักษรโรมันของ สมาคมบาลีปกรณ์ก็จึงหมดไปแทบจะโดยสิ้นเชิง วิธีที่ว่ามานี้แหละ เป็นหนทางสำคัญที่จะทำให้เกิดความเป็นสากลที่แท้จริง พระไตรปิฎกบาลีนั้นเป็น สากลอยู่แล้ว คือ ของเถรวาทไม่ว่าประเทศไหน ก็เป็นอันเดียวกัน แต่ในที่นี้พูดถึงความเป็นสากลของเล่มหนังสือ และตัวอักษรที่ใช้อ่าน ในความหมายที่ว่าฉบับเดียวก็ใช้เทียบกันและอ้างอิงไปได้ระหว่างทุกฉบับด้วย ซึ่งเป็น โครงการที่จะทำต่อไป คือจะใส่เลขหน้าของฉบับฉัฏฐสังคีติของพม่า และฉบับสิงหลเป็นต้น มารวมอยู่ในฉบับ เดียวกันของไทยนี้ให้หมด ถ้าทำครบตามที่ว่ามานี้เมื่อไร เราใช้ฉบับอักษรไทยฉบับเดียวก็อ้างไปได้ทั่ว หรือเจอการอ้างที่มาของ พระไตรปิฎกไม่ว่าฉบับไหน จะเป็นอักษรโรมันของอังกฤษ หรือฉบับฉัฏฐสังคีติของ พม่า หรือฉบับสิงหลของ ลังกา หรือฉบับเทวนาครีของอินเดีย ก็สามารถมาค้นหาในฉบับคอมพิวเตอร์ของไทยนี้ได้หมดในที่เดียว โดย เฉพาะการที่ไม่ต้องใช้ฉบับอักษรโรมันนั้นช่วยทุ่นกำลังเงินได้มาก เพราะว่าฉบับอักษรโรมันนั้นราคาแพงเป็น พิเศษ ที่พูดมาให้รู้ว่าเขามีความบกพร่องผิดพลาดมากมายอย่างนี้มิใช่เป็นเรื่องที่จะไปเย้ยหยันพระไตรปิฎก บาลีฉบับอักษรโรมันของ Pali Text Society แต่ตรงข้ามเราควรจะยกย่องและส่งเสริมเขาด้วยซ้ำไป เพราะว่า ทั้ง ที่เขามีกำลังคนน้อย และมีกำลังทรัพย์น้อย ก็ยังมีความเพียรพยายามและตั้งใจจริงอย่างนี้1 นับว่าน่าสรรเสริญ พวกเราเสียอีก ทั้งๆ ที่มีกำลังพุทธศาสนิกชนมาก มีกำลังเงินทองในทางพระศาสนามาก แต่ไม่ค่อยนำมาใช้ใน ด้านที่เป็นงานหลักสำคัญของพระศาสนาอย่างคัมภีร์นี้ จนกระทั่งต้องมีเอกชนทำขึ้นมา ในหมู่พวกเรานี้ ใครมีกำลังทรัพย์มาก จะไปช่วยสนับสนุนเขาก็สมควร แต่การที่จะไปให้กำลังทรัพย์ สนับสนุนนั้น ก็ต้องเข้าใจว่าไม่ใช่ให้เพราะความนับถือ แต่ให้เพื่อช่วยเหลือส่งเสริม คือเกื้อกูลกัน