อายตนนิพพาน ไม่มี แต่แปลให้ดีก็ได้ความหมาย นิพพานายตนะ ถึงจะใช้เป็นศัพท์ได้ แต่ไม่ให้ความหมายที่ดี ได้กล่าวแล้วว่า คำว่า " อายตนนิพพาน " นั้น ไม่มีในพระพุทธศาสนามาก่อน ท่านผู้ใช้คงจะมุ่งให้แปล ว่า " แดนนิพพาน " แต่คำว่า อายตนนิพพาน ไม่ช่วยให้ได้ความหมายที่ประสงค์ เพราะกลายเป็นมีความ หมายว่า " ดับอายตนะ " ถ้าจะให้นิพพานเป็นดินแดนจริงๆ ก็ควรจะประกอบศัพท์ใหม่ให้ถูกต้องตามหลักภาษา จึงจะได้คำแปล ที่ต้องการ คือ นิพพาน+อายตนะ เป็น " นิพพานายตนะ " แปลว่า แดนนิพพาน เมื่อประกอบศัพท์ถูกต้องตรงตามหลักภาษาบาลีแล้ว ก็จะมีคำเทียบไว้ยืนยันมากมาย ดังเช่น เทวายตนะ = ถิ่น แดนเทวดา อิสสรายตนะ = ถิ่นแห่งอิสรชน อรัญญายตนะ = แดนป่า เป็นต้น สูงขึ้นไปในการปฏิบัติทางจิตก็มีคำเทียบ เป็นฌานระดับสูงสุดเลยทีเดียว ได้แก่ อรูปฌาน 4 คือ อากาสานัญ จายตนะ (อากาสานัญจ+อายตนะ) = แดนอวกาศอันอนันต์, วิญญาณัญจายตนะ (วิญญาณัญจ+ อายตนะ) = แดนวิญญาณอันอนันต์, อากิญจัญญายตนะ (อากิญจัญญ+อายตนะ) = แดนแห่งภาวะที่ไม่มีอะไร เลย, และเนว-สัญญานาสัญญายตนะ (เนวสัญญานาสัญญา+อายตนะ) = แดนแห่งฌานที่มีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มี สัญญาก็ไม่ใช่ แล้วนิพพานก็จะมาต่อยอดสมาบัติที่สูงสุดนี้ ดูจะเข้าชุดกัน แต่ก็เห็นอยู่ว่าพระพุทธเจ้าได้ทรง ปฏิเสธไว้แล้วในพระสูตรที่อ้างนั้นเอง ฉะนั้นจะใช้ " นิพพานายตนะ " ก็ไม่ถูกต้อง รูปศัพท์จะชวนให้ตีความไขว้ เขวออกไปจากหลักพระพุทธศาสนา สำหรับ " อายตนนิพพาน " นั้น ถึงจะหักแปลให้เป็นว่า นิพพานที่เป็นอายตนะ ภาษาก็ไม่ให้ และจะ กลายเป็นว่าต้องมีนิพพานที่ไม่เป็นอายตนะมาเข้าคู่ ถ้าจะใช้อายตนนิพพาน กันจริงๆ ก็ต้องใช้ในความหมายที่ถูกต้องตามศัพท์ว่า " ดับอายตนะ " จึงจะ สอดคล้องกับหลักพระพุทธศาสนา ซึ่งก็จะมีความหมายที่ดีว่า อายตนะต่างๆ ทั้งตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ดับ เย็น ไม่เร่าร้อน ไม่ลุกเป็นไฟ ไม่เผาลน ถ้าใช้ในความหมายอย่างนี้ ก็จะเข้ากับพุทธพจน์ใน อาทิตต-ปริยายสูตร (วินย.4/55/63; สํ. สฬ.18/31/23) ที่ตรัสสอนเหล่าชฎิล ผู้เป็นนักบวชบูชาไฟว่า อายตนะทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ลุกเป็นไฟ ร้อนไปหมดแล้ว คือ เร่าร้อนด้วยไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ และไฟแห่งความทุกข์ในรูปลักษณ์ต่างๆ เมื่อเกิด ปัญญามองเห็นความจริงแล้วก็จะดับไฟเหล่านั้นได้ หายเร่าร้อน หายร้อนรน ก็จะมาเข้าสู่่ความหมายที่ว่า อายตนะเหล่านี้ คือ ตา หู . . . จิตใจ สงบเย็นลง อย่างนี้ก็พอจะนำคำว่าอายตนนิพพานมาใช้ได้ อายตนนิพพาน ที่แปลว่า ดับอายตนะนี้ จะมีศัพท์เทียบเข้าชุดกันได้ และเป็นคำสำคัญมากด้วย คือ กิเลสนิพพาน (ดับกิเลส) ขันธนิพพาน (ดับขันธ์) โดยเฉพาะขันธ์กับอายตนะ เป็นศัพท์ธรรมประเภทเดียวกัน มัก มาตามกันอยู่แล้วด้วย ก็จะมีขันธนิพพาน (ดับขันธ์) ต่อด้วยอายตนนิพพาน (ดับอายตนะ) อย่างไรก็ตาม ทั้งคำว่า " อายตนนิพพาน " ก็ดี " นิพพานายตนะ " ก็ดี ก็ไม่มีมาก่อนในพระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้น ทางที่ดีที่สุด ถ้าเห็นแก่พระธรรมวินัย ไม่ประสงค์จะทำให้กระทบกระเทือนต่อหลักการของพระพุทธ ศาสนา และเป็นความตรงไปตรงมา เมื่อจะใช้คำว่า " อายตนนิพพาน " และให้มีความหมายตามประสงค์ ก็สอน ให้ชัดเจนตรงตามที่เป็นจริงว่า คำนี้ท่านพระอาจารย์ผู้นั้นๆ ได้นำมาใช้ให้มีความหมายดังนี้ๆ ตามหลักการที่ท่าน ได้จัดวางขึ้นใหม่ ก็จะเป็นการรักษาผลประโยชน์ทางปัญญาของประชาชน มิให้เกิดความสับสน และไม่เสียหาย แต่ถ้าจะให้ถูกต้องแท้จริง เมื่อเป็นพระภิกษุก็ต้องสอนให้ตรงตามพระธรรมวินัย