บำรุงเลี้ยงบริหารร่างกายไว้ รูปกายก็เจริญงอกงาม หมั่นบำเพ็ญศีลสมาธิปัญญา ธรรมกายก็เจริญขึ้นมาเติบโตได้เอง คำว่า " ธรรมกาย " ในพระไตรปิฎกอีก 3 แห่งต่อมา ที่ว่ามาในคำร้อยกรองแสดงประวัติเชิงสดุดีนั้น ก็ เป็นการใช้เชิงเปรียบเทียบอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นความหมายที่ใช้ได้กับคนอื่นๆ ทั่วไปด้วย โดยใช้คู่หรือใช้เชิงเทียบ เคียงกับคำว่า " รูปกาย " คนเรานั้น ตามปกติก็มีความเจริญเติบโตของร่างกาย ที่ภาษาบาลีเรียกว่า" รูปกาย " ซึ่งแปลว่า กอง หรือที่รวม หรือที่ชุมนุมแห่งรูปธรรมต่าง ๆ เช่น ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ หรืออวัยวะต่างๆ เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ตับ ไต หัวใจ ปอด เป็นต้น คนเรากินอาหารเป็นต้น เวลาผ่านไป ร่างกายหรือรูปกายก็เจริญเติบโตมากขึ้น ในทำนองเดียวกัน เมื่อ เราศึกษาปฏิบัติธรรม พัฒนาคุณสมบัติที่ดีงามต่างๆ เช่น ศรัทธา ศีล เมตตา กรุณา สติ สมาธิ ปัญญา เป็นต้น เพิ่มขึ้นๆ ธรรมก็เจริญเพิ่มพูนขึ้น กลายเป็นกองแห่งธรรมที่ใหญ่ขึ้นๆ คำว่ากองแห่งธรรมหรือชุมนุมแห่งธรรมนี้ เรียกว่า " ธรรมกาย " คนเราเจริญเติบโตขึ้นมาทางรูปกายนั่น ด้านหนึ่งแล้ว แต่อีกด้านหนึ่งเราก็ควรเจริญด้วยคือ ด้านธรรมกาย เพราะฉะนั้นในความหมายนี้ "ธรรมกาย " ก็เลยเป็นคำคู่กันกับ " รูปกาย " ธรรมกายที่เจริญขึ้นมาถึงขั้นสูงสุดในขั้นอุดมคติก็คือ ถึงขั้นโลกุตตรธรรม ได้แก่ มรรค ผล นิพพาน เพราะฉะนั้น ในขั้นสูงสุดและในความหมายที่จำเพาะ ท่านจึงใช้คำว่าธรรมกายนี้ ให้หมายถึง ชุมนุมแห่งธรรมที่ เป็นโลกุตตระ คือ มรรค ผล นิพพาน แต่ก็เป็นคำพูดครอบคลุมรวมๆ กันไปทั้งกลุ่มทั้งหมด ไม่ใช่หมายถึงหลัก ธรรมข้อหนึ่งข้อใดโดยเฉพาะ คำว่า" ธรรมกาย " ที่ใช้ในความหมายนี้ครั้งสำคัญก็คือ คราวที่พระมหาปชาบดีโคตมี ซึ่งเป็นพระ มารดาเลี้ยงและเป็นพระน้านางของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้มาผนวชเป็นภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนา เมื่อชรา ภาพแล้ว วันหนึ่งได้มาทูลลาพระพุทธเจ้าไปปรินิพพาน พระนางได้กล่าวเป็นคำร้อยกรอง คือคาถา ตอน หนึ่ง ว่า พระนางเป็นพระมารดาของพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธเจ้า ก็เป็นพระบิดาของพระนางด้วยเช่นเดียวกัน ขยาย ความว่า พระนางได้เลี้ยงดูรูปกายของพระพุทธเจ้าให้เจริญเติบโตขึ้นมา แต่พระพุทธเจ้าก็ได้ช่วยทำให้ธรรมกาย ของพระนางเจริญเติบโตขึ้นเช่นเดียวกัน คือช่วยให้พระนางได้ปฏิบัติธรรม บำเพ็ญไตรสิกขา จนกระทั่งบรรลุ มรรค ผล นิพพาน (ดู ขุ.อป.33/157/284) อย่างในกรณีของพระวักกลิ ที่ติดตามดูพระพุทธเจ้า เพราะหลงใหลในพระรูปโฉมของพระองค์ ครั้ง หนึ่งพระองค์ได้ตรัสว่า " อลํ วกฺกลิ กึ เต อิมินา ปูติกาเยน ทิฏฺเฐน.โย โข วกฺกลิ ธมฺมํ ปสฺสติ, โส มํ ปสฺสติ; โย มํ ปสฺสติ, โส ธมฺมํ ปสฺสติ . . ." " ดูก่อนวักกลิ ร่างกายที่เปื่อยเน่าได้นี้ เธอเห็นแล้วจะได้ประโยชน์อะไร ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้น เห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม " (สํ.ข. 17/216/146) คำว่าผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรานี้ ในพระไตรปิฎกเอง พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงใช้คำว่าธรรมกายและรูป กาย แต่อรรถกถา ได้อธิบายโดยใช้คำว่ารูปกายกับธรรมกายเข้ามาเทียบ เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น เมื่อว่าโดยสาระที่แท้จริง การเห็นธรรมนั้นแหละคือการเห็นพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่ต้องการให้ สาวกติดอยู่กับพระรูปกายของพระองค์ แต่ทรงพระประสงค์ให้ทุกคนเห็นธรรม คือเห็นความจริงที่พระองค์ตรัสรู้ ซึ่งจะเป็นการเห็นพระพุทธเจ้าที่แท้ คือเห็นความเป็นพระพุทธเจ้า หรือเห็นความจริงที่ทำให้พระองค์เป็นพระพุทธ เจ้า เมื่อเราเห็นธรรม คือเห็นความจริง ก็คือเห็นสิ่งเดียวกับที่พระพุทธเจ้าเห็น และด้วยการเห็นธรรม ซึ่งเป็นสิ่ง เดียวกับที่พระองค์เห็น เราก็เป็นพุทธะอย่างที่พระองค์เป็น ที่นี้เมื่อเอาคำว่าธรรมกายและรูปกายเข้ามาอธิบาย แบบเทียบกัน ก็ทำให้รู้สึกเป็นจริงเป็นจังยิ่งขึ้น คำว่าเห็นธรรมกายก็คือ เห็นตัวธรรมนั่นเอง คำว่า " ธรรมกาย " ที่มาอีก 2 ครั้ง ในพระไตรปิฎก ก็ใช้ในความหมายอย่างนี้ แต่ไม่ได้ระบุคำว่า " รูป กาย " เข้าคู่ไว้ด้วย ครั้งแรกเป็นคำพรรณนาพระคุณของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายว่าเป็น " พหุธมฺมกายา " คือ ทรงเหมือนกับเป็นพระวรกายที่ทรงไว้ซึ่งธรรมมากมายเป็นอเนก1 (ขุ.อป.32/2/20) อีกครั้งหนึ่งเป็นคำร้อยกรองแสดงประวัติของพระเถระชื่อ อัตถสันทัสสกะ เล่าถึงการที่ท่านได้เคยเฝ้า พระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระในอดีต และตอนหนึ่งมีคำสรรเสริญพระคุณของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นว่า " ธมฺมกายญฺจ ทีเปนฺตํ เกวลํ รตนากรํ " ทรงสาดส่องธรรมกาย อันล้วนเป็นแหล่งแห่งรัตนะ (คือธรรมมากมาย-ไม่ ใช่ " บ่อเกิดแห่งพระรัตนตรัย " อย่างที่เอกสารของวัดพระธรรมกาย ว่า) (ขุ.อป.32/139/242) คำสรรเสริญพระคุณอย่างนี้มีมากมาย และท่านกล่าวไว้ในแง่อื่นๆ ด้วยถ้อยคำพรรณนาที่หลากหลาย สมกับเป็นคัมภีร์เชิงสดุดีพระคุณ ถ้าได้อ่านคัมภีร์อปทาน 2 เล่มนี้ตลอดหรือผ่านไป ทั่วๆ ก็จะเข้าใจลักษณะ คัมภีร์ และไม่มองคำว่า " ธรรมกาย " เกินเลยออกนอกความหมายที่ท่านต้องการ