ธรรมกาย เรื่องสูงที่ไม่ใหญ่ ธรรมกายแบบไหน ก็มีความหมายชัดเจนของแบบนั้น เอกสารของวัดพระธรรมกาย กล่าวอ้างว่า "คำว่า 'ธรรมกาย' นี้จึงมีมาแต่ครั้งพุทธกาลแน่นอน โดยไม่มีข้อสงสัยและข้อโต้แย้งใดๆ ที่เป็นประเด็น ถกเถียงกันก็คือ ความหมายของคำว่า 'ธรรมกาย' บ้างก็กล่าวว่าหมายถึงโลกุตรธรรม 9 บ้างก็กล่าวว่าหมายถึง พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า บ้างก็กล่าวว่าหมายถึงกายแห่งการตรัสรู้ธรรมของพระพุทธเจ้า สิ่งที่ สามารถสรุปได้อย่างมั่นใจอย่างหนึ่งก็คือ เราไม่สามารถอาศัยหลักฐานทางคัมภีร์เท่าที่มีเหลืออยู่ในปัจจุบันมา เป็นเครื่องยืนยันว่า ความคิดเห็นที่แตกต่างกันนั้นความคิดอันใดอันหนึ่งถูกต้องอย่างปราศจากข้อโต้แย้งใดๆ " ความจริง " ธรรมกาย " ไม่ใช่เรื่องซับซ้อนสับสนอะไร และก็ไม่ใช่เรื่องที่ใครจะมาลงมติวินิจฉัย เพราะ เป็นข้อมูลความจริงที่ปรากฏอยู่ และเป็นเรื่องที่เราจะต้องพูดไปตามที่ท่านแสดง ไม่ขึ้นต่อความคิดเห็นของผู้ใด และหลักฐานก็ชัด ไม่ควรเอามาทำให้สับสน แท้จริงนั้น เรื่องนี้พูดได้ง่ายๆ ทั้งตรงตามความเป็นจริง และเข้าใจกันได้ชัดเจน ดังนี้ คำว่า " ธรรมกาย " นั้น ตามศัพท์ แปลว่า กองแห่งธรรม ที่รวม ที่ชุมนุม หรือที่ประมวลไว้แห่งธรรม มี ความหมายเฉพาะซึ่งท่านนำมาใช้ตามความเป็นมา ดังนี้ 1. เดิมทีเดียว ครั้งพุทธกาล ตามที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าทรงคัดค้านศาสนาพราหมณ์ที่ สอนว่า พระพรหมผู้เป็นเจ้า เป็นผู้ประเสริฐ เลิศ สูงสุด เป็นผู้สร้างสรรค์ดลบันดาลโลก และพราหมณ์เป็นวรรณะ ประเสริฐสูงสุด เพราะเป็นผู้ที่พระพรหมสร้าง เกิดจากโอษฐ์พระพรหม พระพุทธองค์ได้ตรัสขึ้นใหม่ในทางตรงข้ามว่า ธรรม คือ ความจริงที่มีอยู่ในธรรมชาตินี่แหละ ประเสริฐ เลิศ สูงสุด เป็น เกณฑ์ เป็นมาตรฐานแก่โลก ไม่มีใครสูงหรือทรามมาแต่กำเนิด ตามพระพรหมกำหนด แต่ มนุษย์ทุกคนจะทรามหรือประเสริฐอยู่ที่ประพฤติธรรมหรือไม่ แล้วตรัสว่า เหล่าสาวกของพระองค์นี้เป็นผู้ที่ธรรม สร้างขึ้นมา เกิดจากโอษฐ์ของพระองค์ผู้เป็นธรรมกาย (คือทรงเป็นแหล่งที่ประมวลไว้และเป็นที่หลั่งไหลออกมา แห่งพระธรรมที่ตรัสแสดง) พระพุทธเจ้าทรงใช้คำว่าธรรมกาย เรียกพระองค์ครั้งเดียว ในกรณีนี้ ในสถานการณ์นี้ ต่อมาจึงมีการใช้ คำว่า " ธรรมกาย " กับผู้อื่นในคำประพันธ์เชิงสดุดี ซึ่งปรากฏในพระไตรปิฎกอีก 3 ครั้ง (ใช้กับพระพุทธเจ้าพระ องค์อื่น พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระมหา ปชาบดีโคตมีเถรี) และใช้กันต่อๆ มาในคัมภีร์อรรถกถาเป็นต้น โดยใช้ เทียบเคียงกับคำว่า " รูปกาย " บางทีก็ใช้คู่กัน บางทีก็มาต่างหาก ท่านใช้คำว่า " ธรรมกาย " เพื่อให้เห็นว่า คนเราในด้านรูปกาย ซึ่งเป็นที่รวมแห่งรูปธรรม เช่น อวัยวะ ต่างๆ เมื่อเราเลี้ยงดูก็เจริญเติบโตขึ้นมา ในทำนองเดียวกัน เมื่อพัฒนาธรรมคือคุณสมบัติ ความดีงาม เช่น ศีล สมาธิ ปัญญาขึ้น คนนั้นก็มีธรรมกาย คือประมวลหรือที่ชุมนุมแห่งธรรมที่เจริญเติบโตขึ้น จนกระทั่งเป็นที่รวม แห่งธรรมระดับสูงสุด คือ โลกุตตรธรรม อันได้แก่มรรค ผล นิพพาน ธรรมกาย เป็นคำพูดรวมๆ เช่น หมายถึงโลกุตตรธรรมทั้งหมด อย่างที่ว่ามาแล้ว ไม่ได้หมายถึงองค์ ธรรมข้อใดข้อหนึ่งโดยเฉพาะ 2. ต่อมาอีกหลายร้อยปี พระพุทธศาสนามหายาน สืบทอดความหมายของคำว่า " ธรรมกาย " จากพุทธศาสนาหินยานนิกายสรวาสติวาทิน ซึ่งพระพุทธศาสนาเถรวาทได้ชำระสะสางออกไปในสังคายนาครั้งที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 235 และต่อมาสาบสูญไป แล้วมหายานก็ได้พัฒนาความหมายของคำว่า " ธรรมกาย " ให้มีความ สำคัญขึ้นมา ถึงขั้นเป็นหลักการอย่างหนึ่ง โดยให้ธรรมกายนี้เป็นกายหนึ่งในกาย 3 อย่างของพระพุทธเจ้า ซึ่งมี กายที่คิดศัพท์เพิ่มขึ้นมาใหม่อีก 2 อย่าง รวมเรียกว่า " ตรีกาย " คือ 1) ธรรมกาย ได้แก่ ตัวสัจจภาวะ หรือแก่นสภาวธรรม ซึ่งเป็นตัวแท้ของพระพุทธเจ้า 2) สัมโภคกาย ได้แก่ กายในทิพยภาวะ ที่เสวยสุขในสรวงสวรรค์ 3) นิรมาณกาย ได้แก่ กายนิรมิต ที่สำแดงพระองค์เพื่อบำเพ็ญพุทธกิจในโลกมนุษย์ 3. ต่อมาหลังพุทธกาล 2 พันปีเศษ พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด จนฺทสโร วัดปากน้ำ) ได้นำคำ " ธรรมกาย " มาใช้เรียกประสบการณ์บางอย่าง ในระบบการปฏิบัติที่ท่านจัดวางขึ้น ถ้าพูดตรงไปตรงมา ตามเรื่องที่เป็นไป ก็ง่าย ชัดเจน แต่เอกสารของวัดพระธรรมกาย กล่าวว่า " คำว่า ' ธรรมกาย ' มีหลักฐานปรากฏในพระไตรปิฎกอยู่ 4 แห่ง และในคัมภีร์อรรถกถาและฎีกา อีกหลายสิบแห่ง ดังรายละเอียดในหัวข้อเรื่องหลักฐานวิชชาธรรมกาย นอกจากนี้ ยังมีคัมภีร์พระไตร ปิฎกจีนในส่วนที่เป็นเนื้อหาของหินยาน มีการกล่าวถึงคำว่า " ธรรมกาย " ในหลายๆ แห่ง ระบุถึงความ หมายของคำว่าธรรมกาย และแนวทางการเข้าถึงไว้อย่างน่าสนใจ แต่เนื้อหาในพระไตรปิฎก ฉบับบาลี ตกหล่นไป " การกล่าวทำนองนี้ เป็นการสร้างความสับสนขึ้นใหม่ในเรื่องที่ชัดเจนอยู่แล้ว มีทั้งการพูดในลักษณะที่ จะให้เห็นว่า พระไตรปิฎกบาลีเถรวาทที่ตนเองอาศัยอยู่ อาจจะเชื่อถือไม่ได้ หรือบกพร่องยิ่งกว่าพระไตรปิฎกจีน ในส่วนที่เป็นเนื้อหาของหินยาน ทั้งที่หินยานนิกายนั้น ก็ถูกชำระสะสางไปแล้ว และพระไตรปิฎกจีนก็เป็นของ แปลขึ้นภายหลัง การที่กล่าวว่า เอกสารของวัดพระธรรมกาย จาบจ้วงพระธรรมวินัย จึงไม่ใช่เป็นการกล่าวหา แต่ เป็นการกระทำที่แสดงออกมาเองอย่างชัดเจน ยิ่งกว่านั้น ยังมีการกระทำที่น่ารังเกียจอย่างยิ่ง แฝงอยู่ในคำกล่าวนั้นอีก 2 ประการ (ไม่ต้องพูดถึง เจตนาที่อยู่เบื้องหลัง) คือ 1) กล่าวถึงพระไตรปิฎกจีนขึ้นมาอย่างเลื่อนลอย ไม่แสดงเนื้อหาที่อ้างนั้นออกมาได้เลย อาจจะเป็น การกล่าวตู่พระไตรปิฎกจีนนั้นด้วย 2) กล่าวว่า " ระบุถึง...แนวทางการเข้าถึง (ธรรมกาย) ไว้อย่างน่าสนใจ " ไม่มีพระไตรปิฎกฉบับใดจะ ต้องแสดงวิธีเข้าถึงธรรมกาย เพราะคำว่า " ธรรมกาย " เป็นคำพูดรวมๆ หมายถึงธรรมต่างๆ ที่ประสงค์จะกล่าว ถึงทั้งชุด หรือทั้งหมวด หรือทั้งมวล เช่นโลกุตตร-ธรรมทั้ง 9 และธรรมเหล่านั้น เช่น โลกุตตรธรรม 9 นั่นแหละที่ ท่านจัดวางระบบ วิธีปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงไว้เรียบร้อยแล้ว เมื่อมรรค ผล นิพพาน มีวิธีปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงพร้อมบริบูรณ์อยู่แล้ว จึงไม่ต้องมีวิธีปฏิบัติเพื่อเข้าถึง ธรรมกายขึ้นมาต่างหาก มีแต่ว่า ผู้ที่ปฏิบัติเข้าถึงมรรค ผล นิพพานแล้ว ก็จะมีธรรมกายที่ประกอบด้วยธรรมคือ คุณสมบัติต่างๆ มากมาย ตามแต่จะเลือกพรรณนา ดังกล่าวแล้วว่า " ธรรมกาย " ไม่ใช่หลักธรรมอันใดอันหนึ่งโดยเฉพาะ ท่านใช้ขึ้นมาในความหมายพิเศษ ดังกล่าวแล้ว ดังนั้น จะทราบไว้เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าต้องการทราบเป็นเครื่องประดับความรู้ ก็ขอขยาย ความต่อไป