ภาคผนวก เอกสารของวัดพระธรรมกาย นิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตา* บทนำ ในระยะ 2-3 เดือนนี้ ประเด็นเรื่องนิพพานว่าเป็นอัตตาหรืออนัตตา ได้กลับมาเป็นหัวข้อที่ถกเถียงกัน อย่างกว้างขวางอีกครั้ง และบางท่านถึงกับสรุปว่า ความเห็นว่านิพพานเป็นอัตตานั้นผิดเพี้ยนจากหลักการของ พระพุทธศาสนา จึงทำให้อาตมภาพมีความจำเป็นต้องออกมาให้ข้อมูล เพื่อให้ชาวพุทธเกิดความเข้าใจและมีท่า ทีที่ถูกต้องในเรื่องนี้ จากการศึกษา โดยส่วนตัวอาตมภาพมีความเชื่อว่า นิพพานเป็นอัตตา แต่บทความนี้ไม่มีความ ประสงค์ที่จะวิเคราะห์ลงในรายละเอียดทางวิชาการ เพื่อยืนยันว่านิพพานต้องเป็นอัตตาหรืออนัตตา แต่ต้องการ ชี้ให้เห็นในภาพกว้างว่า เรื่องซึ่งอยู่พ้นเกินกว่าประสบการณ์ของปุถุชนคนสามัญจะไปถึง หรือเข้าใจได้ เช่น เรื่อง นรกสวรรค์ กฎแห่งกรรม นิพพาน ที่ท่านเรียกว่าเป็นเรื่องอภิปรัชญา หรือเรื่องที่เป็นอจินไตยนั้น หลายๆ เรื่อง เช่น เรื่องนิพพาน ในทางวิชาการสามารถตีความได้หลายนัย ลำพังการอาศัยหลักฐานทางคัมภีร์เท่าที่มีเหลืออยู่ และศึกษาคัมภีร์เพียงบางส่วนเท่านั้น แล้วมาสรุปลงไปว่ามีลักษณะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเด็ดขาด พร้อมกับ ปฏิเสธทัศนะอื่นโดยสิ้นเชิง ทั้งที่ยังมีประเด็นทางวิชาการที่ต้องศึกษาวิเคราะห์อย่างละเอียดรอบคอบอีกมาก อย่างที่ทำอยู่นั้น เป็นสิ่งที่พระเถระทั้งหลายในอดีตของเราไม่ทำกัน เป็นการสรุปเกิน เป็นผลเสียต่อพระพุทธ ศาสนาและอาจนำมาซึ่งความแตกแยก สิ่งที่ชาวพุทธควรปฏิบัติคือ การตั้งใจปฏิบัติธรรม เจริญมรรค มีองค์ 8 ตั้งใจรักษาศีล เจริญสมาธิภาวนา จนเกิดปัญญาความรู้แจ้งด้วยตัวของตัวเอง แล้วเมื่อนั้นเราย่อมเข้าใจ ประจักษ์ชัดด้วยตัวของเราเองว่า นิพพานเป็นอย่างไร โดยไม่ต้องถกเถียงกันเลย แหล่งอ้างอิงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้รับการรวบรวมไว้ในคัมภีร์ชั้นพระไตรปิฎก ซึ่งพระไตรปิฎกบาลี ของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทของเรา เป็นพระไตรปิฎกที่ได้รับการยอมรับว่า สามารถรวบรวมรักษาคำสอน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ได้มากที่สุด เป็นแหล่งอ้างอิงของคำสอนในพระพุทธศาสนายุคดั้งเดิมที่สำคัญที่สุด แต่นอกจากพระไตรปิฎกบาลีแล้วยังมีคำสอนยุคดั้งเดิมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ในคัมภีร์อื่นอีก หลายแหล่ง เช่น พระไตรปิฎกจีน พระไตรปิฎกธิเบต คัมภีร์สันสกฤต และคัมภีร์ในภาษาอื่นๆ พระไตรปิฎกจีน เนื้อหาส่วนใหญ่ในพระไตรปิฎกจีนเป็นคัมภีร์มหายาน ซึ่งทุกคนรู้ว่าเป็นคัมภีร์ที่แต่ง ขึ้นในชั้นหลัง ไม่ใช่พุทธพจน์โดยตรง แต่ในพระไตรปิฎกจีนนี้มีเนื้อหาส่วนหนึ่งเป็นคำสอนของหินยาน มีความ ยาวประมาณ 2 ล้าน 3 แสนตัวอักษร ครอบคลุมเนื้อหาพระวินัยและพระสูตร 4 นิกายแรก โดยส่วนใหญ่และขุ ททกนิกายบางส่วน เนื้อหาโดยส่วนใหญ่คล้ายกับพระไตรปิฎกบาลี แต่แตกต่างในรายละเอียดในทางวิชาการ แล้ว เนื้อหาพระไตรปิฎกจีนส่วนนี้ มีความเก่าแก่ทัดเทียมกับพระไตรปิฎกบาลี พระไตรปิฎกธิเบต เนื้อหาเป็นคัมภีร์มหายานและวัชรยานเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีเนื้อหาที่ยกเอาคัมภีร์ หินยานขึ้นมาอ้างอิงกล่าวถึงเป็นตอนๆ ซึ่งในการศึกษาคำสอนยุคดั้งเดิมของพระพุทธศาสนา เนื้อหาส่วนนี้ก็มี ความสำคัญ จะต้องคัดแยกออกมาศึกษา เปรียบเทียบกับคำสอนในแหล่งอื่น เพื่อให้ได้ความเข้าใจที่ถูกต้องชัด เจนที่สุด ใกล้เคียงคำสอนดั้งเดิมมากที่สุด คัมภีร์สันสกฤต มีคำสอนในชั้นพระไตรปิฎกเหลืออยู่เพียงบางคัมภีร์ ไม่ครบทั้งชุด แต่ก็มีความเก่าแก่ สำคัญ ที่จะต้องศึกษาอย่างละเอียดเช่นกัน คัมภีร์ในภาษาอื่นๆ เช่น คัมภีร์ในภาษาคันธาวี ภาษาเนปาลโบราณ ภาษาถิ่นโบราณ ของอินเดีย เอ เชียกลาง และที่อื่นๆ คัมภีร์เหล่านี้ก็มีคุณค่าทางวิชาการสูงมากเช่นกัน บางคัมภีร์ เช่น คัมภีร์ธรรมบทในภาษา คันธารี ถึงขนาดได้รับการยอมรับในหมู่นักวิชาการพระพุทธศาสนาว่า เป็นคัมภีรธรรมบทที่เก่าแก่ที่สุดในโลก การจะศึกษาให้เข้าใจคำสอนของพระพุทธศาสนายุคดั้งเดิมจริงๆ นั้น จึงมีความจำเป็นจะต้องศึกษาให้ เข้าใจคัมภีร์ทั้งหลายเหล่านี้ทั้งหมด นำเนื้อหาคัมภีร์ที่คล้ายกันมาเปรียบเทียบกัน วิเคราะห์ด้วยหลักทางวิชาการ ทั้งด้านภาษาศาสตร์และอื่นๆ จึงจะได้ความเข้าใจที่รอบด้านสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีความจำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจสภาพสังคมอินเดียในครั้งพุทธกาลว่า ผู้คนมีความคิด ความอ่าน ความเชื่ออย่างไร นักวิชาการทางพระพุทธศาสนาจึงต้องศึกษาให้เข้าใจคำสอนของพระเวท อุปนิษัท เชน และลัทธิความเชื่ออื่นๆ ของอินเดียที่มีอิทธิพลในยุคนั้นๆ รวมทั้งศึกษาประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการของ การเผยแผ่พระพุทธศาสนา การแตกนิกาย ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธศาสนานิกายต่างๆ และระหว่างพุทธกับ ลัทธิศาสนาอื่น การศึกษาให้เข้าใจภูมิหลังทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ความเชื่อในยุคนั้นๆ นี้เอง จะทำให้เรา ตีความเข้าใจความหมายของคำสอนในพระพุทธศาสนาของเราเองได้ถูกต้องลึกซึ้งชัดเจนขึ้น มีผู้เปรียบเทียบไว้ว่า พระพุทธศาสนาเปรียบเหมือนดอกไม้อันงดงามที่บานสะพรั่งขึ้นอย่างโดดเด่นใน สวนแห่งหนึ่ง ซึ่งเปรียบเสมือนอินเดียในยุคนั้น หากเรามองดูแต่ดอกไม้ดอกนั้นเท่านั้น โดยไม่เห็นถึงสภาพสวน นั้นหมดว่าเป็นอย่างไร ก็เป็นการมองที่คับแคบและอาจเข้าใจหลายอย่างผิดไปได้ หากจะยกตัวอย่างทางโลกมาประกอบให้เข้าใจง่ายขึ้นแล้ว เหมือนกับว่า หากในอนาคตมีผู้มาอ่านบท กวีของคุณจิระนันท์ พิตรปรีชา ในตอนที่ว่า "ฉันคือกรวดเม็ดร้าว แหลกแล้วด้วยความเศร้าหมองหม่น ปรารถนาจะเป็นธุลีทุรน ดีกว่าทนกลั้นใจอยู่ใต้น้ำ" จากหนังสือ "ใบไม้ที่หายไป" แล้วไม่รู้ถึงภูมิหลังของสังคมไทยในยุคนั้น ไม่รู้ประวัติชีวิตของคุณจิระนันท์ พิตรปรีชา ไม่รู้เบื้องหลัง ความคิดของคำกวีที่เกิดขึ้นนี้ ความรู้สึก ความเข้าใจในความหมายของบทกวีเพียงตัวหนังสือของบุคคลผู้นั้นก็ ตื้นเขินยิ่งนัก การศึกษาพระพุทธศาสนาให้เข้าใจ เพื่อการปฏิบัติและการสั่งสอนประชาชนให้เป็นคนดี การศึกษา พระไตรปิฎกบาลีสามารถให้ความรู้กับเราได้ แต่การจะล่วงเลยไปถึงขนาดกล้าระบุว่า ทัศนะทางอภิปรัชญาใด ใช่หรือไม่ใช่คำสอนของพระพุทธศาสนายุคดั้งเดิม พร้อมทั้งปฏิเสธทัศนะอื่นโดยเด็ดขาดนั้น ลำพังการศึกษาพระ ไตรปิฎกบาลีอย่างเดียวไม่เพียงพอ ผู้นั้นจะต้องศึกษาแหล่งอ้างอิงคำสอนพระพุทธศาสนายุคดั้งเดิมทุกแหล่งให้ เจนจบ และเข้าใจสภาพภูมิหลังของสังคมอินเดียในครั้งพุทธกาลอย่างลึกซึ้งก่อน