พอชาวตะวันตกมาบวชเป็นพระฝรั่ง ความรู้พุทธธรรมก็เริ่มเข้าสู่ทางที่ถูกต้อง ระยะที่ 2 ได้กล่าวแล้วว่า I. B. Horner เข้าใจเรื่องอัตตาตามแนวคิดแบบอาตมันคล้ายๆ ศาสนา พราหมณ์ แต่ต่อมาชาวตะวันตกที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ก็ดี พระภิกษุในพระพุทธศาสนาเถรวาทชาว ประเทศนั้น ๆ เอง ก็ดี ได้แปลพุทธพจน์เกี่ยวกับอัตตานี้กันใหม่ อย่างพุทธภาษิตว่า อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ก็จะ แปลกันทำนองนี้ว่า "Oneself is one's own protector (refuge); . . ."1 ตรงกับที่ชาวพุทธไทยทั่วไป แม้แต่ชาวบ้านเข้าใจกันดีอยู่แล้ว ที่จริงเรื่องนี้พระภิกษุชาวตะวันตกที่มาบวชในประเทศพุทธศาสนาเถรวาทนั้น มีความเห็นลงกัน ไม่ได้มี ปัญหามานานแล้ว มีแต่ฝรั่งนักวิชาการชาวตะวันตกที่อยู่ในเมืองของตนนั้น ที่วุ่นวายเรื่องว่าอัตตาเป็นอย่างไร พุทธศาสนามีสอนเรื่องอัตตาหรือเปล่า จนกระทั่งมาจบที่ Professer Richard Gombrich ที่จะกล่าวถึงข้างหน้า จึงมาเข้าสู่หลักพุทธศาสนาแบบเถรวาทจริง เรื่องนิพพานเป็นอัตตา หรือเป็นอนัตตานี้ ชาวตะวันตกที่มาบวชเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนาเถรวาท อย่างในลังกา เช่น พระNyanatiloka (ชาวเยอรมัน) ท่านไม่สับสนไปด้วย ดังตัวอย่างที่ท่านได้เขียนไว้นานแล้ว เช่นในหนังสือ Buddhist Dictionary ในคำ "Nibbana" ว่า ". . . the Buddha is known as the Anatta-vadi . . . the truth of Anatta (q.v.), the egolessness and insubstantiality of all forms of existence. Without such an understanding, one will necessarily misconceive Nibbana according to one's either materialistic or metaphysical leaning---either as annihilation of an ego, or as an eteral state of existence into which an Ego or Self enters or with which it merges."1 พระพุทธเจ้าทรงมีพระนามว่าเป็นอนัตตวาที...หลักความจริงแห่งอนัตตา คือภาวะไร้ตัวตน และความ ไม่มีตัวแท้แห่งสภาวธรรมทั้งปวง หากไม่มีความรู้เข้าใจเช่นนั้น คนก็จะต้องเข้าใจนิพพานผิดพลาดไปตามความ โน้มเอียงของตนที่เป็นข้างวัตถุนิยม หรือไม่ก็ข้างอภิปรัชญาว่า (นิพพาน) เป็นการขาดสูญของอัตตา หรือไม่ก็ เป็นภาวะเที่ยงแท้ถาวรที่อัตตาหรือตัวตนเข้าถึงหรือกลืนรวมเข้าไป" และอีกแห่งหนึ่งในหนังสือเล่มเดียวกัน คือในคำว่า "Anatta" ท่านเขียนว่า "While in the case of the first two Characteristics it is stated that "all formations" (sabbe sankhara) are impermanent and subject to suffering, the corresponding text for the third Characteristic states that าall things are not-self" (sabbe dhamma anatta; M. 35, Dhp. 279). This is for emphasizing that the false view of an abiding self or substance is neither appilcable to any "formation", or conditioned phenomenon, nor to Nibbana, the Unconditioned Element (asankhata dhatu)"1 "ในกรณีของลักษณะ 2 อย่างแรก ท่านกล่าวว่า 'สังขารทั้งหลายทั้งปวง' (สพฺเพ สงฺขารา) ไม่เที่ยง และ เป็นทุกข์ ส่วนพระบาลีที่เข้าชุดกัน สำหรับลักษณะอย่างที่ 3 ตรัสว่า 'ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา' (สพฺเพ ธมฺมา อนตฺ ตา; มัชฌิมนิกาย สูตรที่ 35 และธรรมบท คาถาที่ 279) พุทธพจน์นี้ช่วยย้ำว่า ความเห็นผิดว่ามีอัตตาหรือตัวตนที่ อยู่ยงนั้น จะใช้กับสังขารหรือสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งใดๆ ก็ตาม หรือจะใช้กับนิพพาน ที่เป็นอสังขตธาตุก็ตาม ก็ไม่ได้ ทั้งนั้น" นี้ก็เป็นตัวอย่างความลงกันของพระพุทธศาสนาเถรวาท ซึ่งไม่มีปัญหา การที่วัดพระธรรมกายมาสอนว่านิพพานเป็นอัตตา ด้วยวิธีทำหลักคำสอนที่มีอยู่เดิมให้คนเข้าใจสับสน ไขว้เขวอย่างนี้ เป็นเรื่องของความวิปริตผิดพลาดที่ร้ายแรง ซึ่งชาวพุทธจะต้องรู้เท่าทัน แล้วรีบแก้ไข