หันจากพระไตรปิฎกแปลของ Pali Text Society ชาวตะวันตกที่ศึกษาพุทธศาสนา เหออกมาสู่ทางเลือกอื่น ส่วนพระไตรปิฎกฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษนั้น ก็อย่างที่พูดแล้วว่าน่าสรรเสริญความเพียรพยายาม และความตั้งใจจริงของเขา นอกจากนั้น ยังน่าชื่นชมระเบียบวิธีในการทำงานของเขา ซึ่งสืบเนื่องมาจากวัฒน ธรรมทางวิชาการของตะวันตก อันทำให้ผลงานของเขามีลักษณะเป็นวิชาการมาก และอำนวยประโยชน์แก่การ ศึกษาค้นคว้าไม่น้อย เช่น ประมวลความรู้ความคิดเกี่ยวกับคัมภีร์เล่มนั้นๆไว้ เป็นบทนำอย่างยืดยาวยิ่ง มี เชิงอรรถช่วยขยายความรู้และช่องทางการค้นคว้าต่อไป และมีระบบการอ้างอิงที่ดี รวมทั้งศัพท์สงเคราะห์ และ ดัชนีต่างๆ อย่างไรก็ตาม ความเป็นนักภาษาบาลีและวัฒนธรรมทางวิชาการเท่านั้นยังไม่พอ การที่จะแปลคัมภีร์ พุทธศาสนาให้ถูกต้องแม่นยำนั้น ต้องมีความเข้าใจหลักธรรม คือเข้าใจตัวพระพุทธศาสนาด้วย ยิ่งลึกซึ้งเท่าไรก็ ยิ่งดี แต่ก็น่าเห็นใจผู้แปล ที่เขาทำไปตามกำลังสุดความสามารถ และเมื่อคนรุ่นหลังเรียนรู้เข้าใจมากขึ้น ก็มีการ แก้ไขปรับปรุงเรื่อยมา คัมภีร์พระไตรปิฎกฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษของ Pali Text Society จึงได้มีการเปลี่ยน แปลงต่อๆ มา ยกตัวอย่างคัมภีร์มัชฌิมนิกายที่พูดไปแล้ว เมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษ ระยะแรกเป็นฉบับที่ Lord Chalmers แปล ต่อมาก็รู้กันว่ามีความผิดพลาดบกพร่องมาก จึงแปลใหม่โดยคนใหม่ คือ Miss I. B. Horner ที่กล่าวถึงแล้ว อย่างไรก็ดี ในแง่ของคัมภีร์แปล ตลอดจนหนังสือตำรับตำราต่างๆ ทางพระพุทธศาสนานี้ ระยะหลังๆ เมื่อมีชาวตะวันตกมาบวชเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนา เช่นมาบวชอยู่ลังกา ได้เรียนรู้ลึกซึ้งมากขึ้น คนก็หันมาย อมรับนับถือและถือตามหนังสือตำรับ ตำรา และแม้แต่หนังสือแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถาของพระภิกษุชาว ตะวันตกที่มาบวชเป็นภิกษุในพุทธศาสนาแล้วนี้มากกว่า พวกนักปราชญ์ชาวตะวันตก เช่นที่ Pali Text Society นั้น แม้จะมาสนใจในทางพุทธศาสนา แต่หลาย ท่านก็สนใจแบบนักวิชาการ โดยที่พื้นฐานเป็นชาวคริสต์มาแต่เดิม จึงมีแนวคิดติดมาในแบบที่ยึดถือในอัตตา (Soul) บางท่านแม้มาเป็นนักปราชญ์ภาษาบาลี ก็ยังนับถือศาสนาคริสต์อยู่ เพราะความที่ไม่คุ้นกับ บรรยากาศคำสอนในพระพุทธศาสนามาแต่เดิม ทำให้ไม่สามารถเข้าใจซึ้งถึงหลักธรรมคำสอนของพระพุทธ ศาสนาได้ เพราะฉะนั้น คนทั้งหลายทั่วไปที่ศึกษาเนื้อหาธรรมของพระพุทธศาสนา จึงหันไปให้ความสนใจ คอย ฟังคอยอ่านหนังสือของพระฝรั่งบ้าง พระลังกาบ้าง ที่รู้พุทธศาสนา ยกตัวอย่างเช่น พระNyanatiloka ชาว เยอรมัน ที่ไปบวชอยู่ในลังกาจนกระทั่งมรณภาพในลังกานั้น และมีลูกศิษย์ซึ่งเป็นชาวเยอรมันเช่นเดียวกัน ชื่อ พระ Nyanaponika ซึ่งก็มรณภาพไปแล้ว ต่อมาก็มีรูปอื่นๆ เช่น พระ Nanamoli ซึ่งเป็นชาวอังกฤษ Pali Text Society เอง ตอนหลังๆ นี้ เมื่อพิมพ์งานแปลคัมภีร์ภาษาบาลีเป็นภาษาอังกฤษ แทนที่จะใช้ฝี มือของพวกนักปราชญ์ตะวันตกที่อยู่ในเมืองฝรั่งอย่างเดิม ก็หันมาพิมพ์คัมภีร์ที่พระฝรั่งแปลมากขึ้น อย่างงาน ของพระ Nanamoli ภิกษุชาวอังกฤษที่บวชอยู่ในลังกา ก็ได้รับการตีพิมพ์มาก ยิ่งระยะหลังๆ นี้ ก็มีความโน้มเอียงที่ว่าชาวตะวันตกและฝรั่งที่ศึกษาพระพุทธศาสนาจะหันไปใช้พระ ไตรปิฎกฉบับแปลที่สำนักพิมพ์อื่นพิมพ์ แทนที่จะใช้ฉบับแปลของ Pali Text Society อย่างเช่นเวลานี้ มัชฌิม นิกาย ที่พูดถึงเมื่อกี้ ก็มีฉบับของ Wisdom Publications ซึ่งพิมพ์ฉบับแปลของพระฝรั่งที่มาบวชอยู่ในลังกา คือ Bhikkhu Nanamoli (ชาวอังกฤษ บวชปี 1949 = พศ. 2492) และ Bhikkhu Bodhi (ชาวอเมริกัน บวชปี 1972 = พศ. 2515) เป็นต้น แสดงถึงการที่ว่า วงการศึกษาพุทธศาสนายุคหลังๆ นี้ไม่ค่อยเชื่อถือคำแปลคัมภีร์ของ Pali Text Society ยิ่งกว่านั้น นักศึกษาพระพุทธศาสนา ที่เป็นฝรั่งมาบวชเรียนเหล่านี้แหละ ได้พยายามทำผลงานแปล ใหม่กันขึ้นเอง เช่นอย่างพระชาวอเมริกัน ชื่อ Bhikkhu Bodhi นั้น ที่มาบวชอยู่ในลังกา แล้วมาดำเนินการจัด พิมพ์หนังสือทางพระพุทธศาสนา จนกระทั่งเวลานี้ได้เป็นประธาน และบรรณาธิการ ของ Buddhist Publication Society ในศรีลังกา เพราะฉะนั้น หนังสือที่เป็นหลักจริงๆ ของ Pali Text Society ก็คือคัมภีร์พระไตรปิฎกบาลีและอรรถกถา ภาษาบาลี ที่ใช้อักษรโรมัน ซึ่งวงการศึกษาภาษาบาลียังใช้กันอยู่ด้วยเหตุผลเพียงว่า เพราะพวกนักศึกษาทั้ง หลายโดยทั่วไปต้องอาศัยอักษรฝรั่งเป็นสื่อในการที่จะติดต่อระหว่างกัน