เพราะไม่รักษาคำสอนเดิมของพระพุทธเจ้าไว้ มหายานจึงต่างกันเอง ห่างไกล ยิ่งกว่าต่างจากเถรวาทอย่างไทย ความจริงการชำระสะสางแยกกันชัดเจนระหว่างเถรวาทกับมหายานนั้น ได้มีมานานแล้วตั้งแต่ก่อน เกิดเป็นมหายานด้วยซ้ำไป หมายความว่า ก่อนจะมีนิกายมหายานนั้นมีความคิดเห็นแปลกแยกออกไป ซึ่งใน ระยะแรก เรียกว่ามหาสังฆิกะ แล้วจึงพัฒนาขึ้นมาเป็นมหายานภายหลัง การชำระสะสางความคิดเห็นแปลก แยกเหล่านี้ทางฝ่ายเถรวาทได้ชี้แจงแสดงไว้ชัดเจนแล้ว ตั้งแต่สังคายนา ครั้งที่ 3 ที่พระเจ้าอโศกมหาราชเป็น องค์อุปถัมภ์ เมื่อ พ.ศ. 235 พระไตรปิฎกภาษาสันสกฤตก็ดี จีนก็ดี ทิเบตก็ดี หรือภาษาอะไรอื่นก็ดีที่นอกบาลีทั้งหมดนั้น ล้วนเป็น ของมหายาน หรือสืบเนื่องต่อมาหลังสังคายนาครั้งที่ 4 (ทางมหายานถือว่าเป็นครั้งที่ 3) ที่เมืองบุรุษปุระ ทาง ตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย เมื่อ พ.ศ. 643 ซึ่งเป็นการสังคายนาของนิกายสรวาสติวาทิน มหายานยอม รับ การสังคายนาครั้งนี้ ต่อมานิกายสรวาสติวาทิน สาบสูญไปแล้ว แต่มหายานพัฒนาต่อมาโดยใช้คัมภีร์ภาษา สันสกฤตอย่างเดียวกับนิกายสรวาสติวาทิน คัมภีร์พระไตรปิฎกสันสกฤตเป็นของเกิดภายหลังจาก พระไตรปิฎกภาษาบาลีที่เป็นของดั้งเดิม การ ชำระสะสางก็ดี การรู้ความแตกต่างกันนั้นก็ดี เป็นเรื่องที่ชัดเจนอยู่ก่อนแล้ว หมาย ความว่า พระเถระที่รวบรวม จัดทำสังคายนาพระไตรปิฎกบาลีของเถรวาทนั้น ท่านรู้ความแตกต่างอยู่ก่อนแล้ว และท่านได้สะสางไว้เสร็จ แล้ว เราจึงไม่ควรจะนำกลับไปปะปนกันอีก ยิ่งพระไตรปิฎกจีนด้วยแล้ว ก็เกิดสืบเนื่องจากพระไตรปิฎกฉบับสันสกฤตนั้นอีกต่อหนึ่ง พระไตรปิฎก จีนนั้นไม่ได้เกิดขึ้นในอินเดีย แต่เกิดขึ้นในประเทศจีน เพราะฉะนั้นก็ห่างหลังฉบับภาษาสันสกฤตออกไปอีก เท่าที่นักประวัติศาสตร์สืบทราบได้ พระพุทธศาสนาที่เข้าไปสู่ประเทศจีนอย่างจริงจังนั้น ได้เริ่มเมื่อ ประมาณ พ.ศ. 608 เมื่อพระเจ้ามิ่งตี่ หรือเม่งตี่ ทรงส่งทูต 18 คนไปสืบพระพุทธศาสนาในประเทศตะวันตก คือ อินเดีย หรือชมพูทวีป ในครั้งนั้นพระกาศยปะ มาตังคะที่เข้ามาประเทศจีนจากประเทศอินเดีย ได้แปลพระสูตร พุทธวัจนะ 42 บท ที่ฝรั่งแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า The Sutra of Forty-two Sections ขึ้นเป็นสูตรแรก ต่อมาอีกนานจึงมีการแปลคัมภีร์พระไตรปิฎกภาษาสันสกฤตเป็นจีนอย่างจริงจังประมาณปี พ.ศ. 944 เมื่อพระกุมารชีวะจากแคว้นกูจา ในเอเชียกลาง มาถึงนครเชียงอานแล้วได้แปลคัมภีร์ออกมาส่วนหนึ่ง ต่อจาก นั้นเหตุการณ์ใหญ่อีกครั้งหนึ่งก็คือสมัยราชวงค์ถัง เมื่อหลวงจีนที่เรารู้จักกันดี คือพระถังซำจั๋ง หรือหลวงจีนเหี้ยน จัง หรือยวนฉาง ได้ไปสืบพระไตรปิฎกในไซที คือแคว้นตะวันตก หรือดินแดนตะวันตก ซึ่งหมายถึงชมพูทวีป ใน พ.ศ. 1172 แล้วกลับมาถึงเมืองจีนเมื่อ พ.ศ. 1188 คือเกือบ พ.ศ. 1200 และได้แปลพระสูตรภาษาสันสกฤตที่นำ มาจากอินเดียเป็นภาษาจีน ส่วนพระไตรปิฎกภาษาทิเบตก็เช่นเดียวกัน เพิ่งแปลมาจากภาษาสันสกฤตหลัง พ.ศ. 1160 เพราะว่า พระพุทธศาสนาเพิ่งเข้าสู่ทิเบตในช่วง พ.ศ. 1160 นั้น เมื่อกษัตริย์ทิเบตอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเนปาลและเจ้า หญิงจีน ที่นับถือพระพุทธศาสนา พระไตรปิฎกมหายานที่เป็นหลัก ก็มีของจีนกับของทิเบตเท่านี้ ส่วนพระไตรปิฎกมหายานนอกจากนี้ ก็ ถ่ายทอดต่อจากจีน-ทิเบตไปอีก อย่างของเกาหลี1 และญี่ปุ่นเป็นต้น หรือไม่ก็เป็นเพียงกระเส็นกระสาย มีนิดๆ หน่อยๆ หาเป็นชิ้นเป็นอันได้ยาก ที่น่าเสียดายก็คือ พระไตรปิฎกฉบับภาษาสันสกฤตที่เป็นต้นเดิมของมหายานนั้น ได้สูญหายไปแทบ หมดสิ้น แม้จะกลับไปพบที่ฝังหรือเก็บใส่สถูปเจดีย์ไว้ ก็อยู่ในสภาพกระจัดกระจายหรือแหว่งวิ่น พระไตรปิฎกเดิมของสันสกฤต เกิดหลังบาลีอยู่แล้ว ยังมาสูญหายไปเสียอีก พระไตรปิฎกฉบับภาษา จีนและทิเบตที่แปลต่อจากฉบับสันสกฤตนั้น ก็เลยแทบไม่มีต้นฉบับเดิมที่จะตรวจสอบ การที่จะสืบหาคำสอน เดิมที่แท้แปลให้ตรงจริงจึงเป็นไปได้ยาก ดังเช่นพระไตรปิฎกของจีนนั้น บางเรื่องเป็นพระสูตรเดียวกัน แต่เมื่อไม่ มีฉบับภาษาสันสกฤตที่เป็นตัวเดิม ก็เลยรวมเข้าชุดโดยเอาทั้งฉบับแปลของพระกุมารชีวะ (ราว พศ. 944) และ ฉบับแปลของหลวงจีนเหี้ยนจัง (ราว พศ. 1188) เพิ่มความใหญ่โตให้แก่พระไตรปิฎกของมหายาน เป็นอันว่า พระไตรปิฎกของมหายาน ตั้งแต่ฉบับใหญ่ของจีนและทิเบต ตลอดจนฉบับภาษาอื่นๆ ที่มี กระเส็นกระสาย ไม่ว่าจะพบที่ไหน เราก็พูดได้ชัดเจนว่าเป็นของที่เกิดทีหลัง และเมื่อมองในแง่ของการรักษาคำ สอนของพระพุทธเจ้า ก็อยู่ในสภาพง่อนแง่น นอกจากสืบหาพุทธพจน์ได้ยากแล้ว ก็ยังเป็นส่วนที่แต่งใหม่ใส่พระ โอษฐ์เข้าไปอีก ต่างจากพระไตรปิฎกบาลีของเถรวาทที่นอกจากเป็นของดั้งเดิมก่อนกว่าแล้ว ก็ยังมีประวัติการ รักษาสืบต่อมาอย่างมั่นคง ดังที่ปราชญ์พุทธศาสนาไม่ว่าที่ไหนๆ ไม่ต้องพูดถึงตัวเราเอง แม้ถึงตะวันตกและ ประเทศมหายานเองก็ยอมรับทั่วกัน การที่เราเจอพระไตรปิฎกอื่น ๆ นั้นก็เป็นข้อดีใน 2 ประการ คือ ประการที่ 1 จะได้รู้ว่าเรื่องนั้นๆ ทางมหายานสอนว่าอย่างไร และเมื่อพูดถึงมหายานก็ต้องแยกนิกาย ด้วยว่า นิกายไหนของมหายานสอนไว้ว่าอย่างไร แต่ไม่ใช่หมายความว่าจะเอามาปะปนกัน (มหายานด้วยกันเอง เขาก็ไม่ยอมให้ต่างนิกายมาปนกับเขา) แต่เอามาเทียบเพียงให้รู้ว่า ในเรื่องนี้ เช่น นิพพาน ทางเถรวาทสอนว่า อย่างนี้ มหายานนิกายนี้สอนว่าอย่างนี้ มหายานนิกายนั้นสอนว่าอย่างนั้น เพราะนิกายมหายานนั้นแตกแยกกัน ออกไปมาก ตามคำสอนของอาจารย์ในแต่ละนิกาย ดังที่เรียกชื่อมหายานอีกอย่างหนึ่งว่า อาจารยวาท (บาลีว่า อาจริยวาท) มหายานเองก็ไม่ลงกัน เราควรจะปล่อยให้มหายานเถียงกันดีกว่าที่จะไปเถียงด้วย ถ้าเราเอาคำสอน มหายานจากพระไตรปิฎกมหายานเข้ามาละก็จะยุ่งกันใหญ่ เพราะมหายานเองก็ยุ่งกันอยู่แล้ว ประการที่ 2 ยิ่งค้นพบพระไตรปิฎกในประเทศอื่น ๆ มากเท่าไร ก็ยิ่งเป็นการช่วยย้ำให้เราได้หลักฐาน มายืนยันเรื่องราวที่พระไตรปิฎกบาลีของเราได้บันทึกไว้ชัดเจนก่อนตั้งแต่ พ.ศ. 235 แล้วว่าท่านได้ชำระสะสาง นิกายแตกแยกแปลกปลอมทั้งหลาย แสดงว่าลัทธิเช่นนั้นเกิดขึ้นจริง ๆ ดังหลักฐานที่ได้ค้นพบภายหลังเหล่านั้น