อัด 'วัดธรรมกาย' ทำศาสนาเสื่อม ทนายแมกไซไซระบุบิดเบือน 'หลักธรรม' วัดญาณเวศ/สนง.ทนายความทองใบ - "พระธรรมปิฏก" แจงอิทธิปาฏิหาริย์ พระทุธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญ ระบุมีโทษถึง 4 ประการ พร้อมบัญญัติสิกขาบทห้ามพระสาวกแสดงฤทธิ์ หากแสดงมีโทษถึงอาบัติ แนะพุทธสาสนิกชนพึ่งตนเอง เชื่อการกระทำและไม่ประมาทเป็นดีที่สุด ด้านทนายความแมกไซไซ "ทองใบ ทองเปาว์" ชำแหละวัดพระธรรมกาย สร้างความเสื่อมเสียแก่พุทธศาสนา รับเป็นทนายความแก้ต่างให้ "สยามธุรกิจ" หากถูกฟ้องหมิ่นประมาท จากการที่ "สยามธุรกิจ" ได้ตีแผ่ถึงความไม่ชอบมาพากลอย่างต่อเนื่องของ วัดพระธรรมกายในการลงโฆษณาตามหน้าหนังสือพิมพ์บางฉบับ ที่แสดงถึง อิทธิปาฏิหาริย์ของพระมงคลเทพมุนี(หลวงพ่อสดวัดปากน้ำ) รวมถึงโฆษณา ในรูปแบบอื่นๆ เกินจริงอย่างรับไม่ได้เพื่อมุ่งหวังเงินทองนำไปสร้างพระธรรมกายเจดีย์ โดยไม่คำนึงถึงหลักการที่ถูกต้องของพุทธศาสนา โดยพระพิศาลธรรมวาที(พระพยอม กัลยาโณ) ชี้ว่า การโฆษณาดังกล่าวเพี้ยน เป็นการขายปาฏิหาริย์ลวงโลก อวดอุตริมนุษยธรรม และพฤติกรรมเข้าข่าย 18 มงกุฏ รวมทั้งผิดหลักธรรมพระพุทธศาสนาที่สอนเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขณะที่พระธรรมโกศาจารย์(หลวงพ่อปัญญานันทะ) ได้ชี้ว่า การโฆษณาดังกล่าว ของวัดพระธรรมกาย เป็นเจตนามุ่งหาเงิน เป็นการลวงโลก สอนคนให้หลงงมงาย ผิดหลักการของพระศาสนาที่สอนให้คนปล่อยวางในสรรพสิ่ง ส่วนการสร้างพระธรรมกายเจดีย์นั้นก็ไม่มีประโยชน์แก่คนหมู่มาก ด้าน ส. ศิวรักษ์ กล่าวว่าธรรมกายเป็นลัทธิมิจฉาทิฐิ เป็นพวกเดียรถีย์ สอนคนให้หลงผิดเป็นชอบ ให้ยึดมั่น ยึดติดในตัวบุคคล ขณะที่พระพุทธเจ้าสอนให้ปล่อยวางในทุกอย่าง พร้อมกับท้าทายวัดพระธรรมกายว่า ยินดีจะเผชิญหน้ากับพระในวัดธรรมกายทุกรูป ล่าสุด "สยามธุรกิจ" ได้สัมภาษณ์พิเศษพระธรรมปิฏก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) พระนักวิชาการ และพระนักหฏิบัติ ซึ่งได้รับรางวัลยูเนสโกและได้รับการยอมรับว่า เป็นเสาหลักในการอธิบายชี้แจงหลักการที่ถูกต้องของพุทธศาสนาตามหลัก เถรวาท ซึ่งการให้สัมภาษณ์ครั้งนี้ พระธรรมปิฏกได้ระบุว่า ตามหลักการของพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ไม่ทรงสรรเสริญอิทธิปาฏิหาริย์ เพราะมีโทษถึง 4 ประการ คือ 1. ทำให้มนุษย์ไม่หวังผลจากการกระทำ 2. ไม่พัฒนาตัวเอง 3. ตกอยู่ในความประมาท 4. หมดอิสระภาพ ขณะเดียวกัน หลักการของพระพุทธศาสนาที่ถูกต้อง คือสอนให้ใช้ความเพียร ให้หวังผลจากการกระทำ ให้เรียนรู้พัฒนาตนเองและไม่ประมาท รวมทั้งให้พึ่งตนเอง พระธรรมปิฏก กล่าวว่า ปกฏิหาริย์นั้นมี 3 อย่าง คือ อิทธิปาฏิหาริย์ คือ ปาฏิหาริย์แสดงฤทธิ์ได้ อาเทสนาปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์ทายใจคนได้ และ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คือ สอนให้รู้เข้าใจ ความจริง ให้เกิดปัญญา เป็นอิสระ ทั้งสามอย่างนี้ พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ แต่ทรงตำหนิอิทธิปาฏิหาริย์และอาเทสนาปาฏิหาริย์ พร้อมกันนี้ก็ทรงบัญญัติสิกขาบท ไม่ให้พระสาวกแสดงฤทธิ์ หากแสดงฤทธิ์ ก็จะเป็นอาบัติมีความผิด ดังนั้นการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ถือว่าขัดกับ หลักการของพระพุทธศาสนาอย่างแน่นอน อนึ่ง สือเนื่องจากกณีที่สำนักกฏหมาย ดี เอ็ม เอส ผู้รับมอบอำนาจ จากวัดพระธรรมกาย ได้ส่งจดหมายขู่ว่าจะดำเนินคดีตามกฏหมายกับ "สยามธุรกิจ" ข้อหาหมิ่นประมาท พร้อมกับให้แก้ไขข้อความที่ระบุว่า เป็นการหมิ่นประมาทวัดพระธรรมกาย หลังจากที่ "สยามธุรกิจ" ได้ตีพิมพ์ บทสัมภาษณ์ของพระพิศาลธรรมวาที(พระพยอม กัลยาโณ) ลงในหนังสือพิมพ์ ฉบับวันที่ 1-7 พฤศจิกายน 2541 ซึ่งเป็นบทสัมภาษณ์ที่วิพากษ์วิจารณ์การ ลงโฆษณาของวัดพระธรรมกายตามสื่อต่างๆ ในทำนองอวดอ้างอิทธิปาฏิหาริย์ จนพระพยอมต้องออกมาเรียกร้องให้ชาวพุทธอย่านิ่งเฉยต่อการอวดอุตริลวงโลก ของวัดพระธรรมกายนั้น เกี่ยวกับเรื่องนี้นายทองใบ ทองเปาว์ ทนายความเจ้าของรางวัลแมกไซไซ เปิดเผย "สยามธุรกิจ" ว่า ตามที่หนังสือพิมพ์ "สยามธุรกิจ" นำเสนอความเห็นของ พระพยอมเกี่ยวกับพฤติกรรมของวัดพระธรรมกายนั้น ถือว่าเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ ตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า หากทางวัดพระธรรมกายดำเนินการฟ้องร้อง ต่อหนังสือพิมพ์ "สยามธุรกิจ" นายทองใบกล่าวว่า ตนพร้อมที่จะให้คำปรึกษา ทางด้านกฏหมายกับหนังสือพิมพ์ "สยามธุรกิจ" และพร้อมที่จะออกหน้าเป็นทนายว่าต่างให้ เพราะคดีอย่างนี้ถือว่าสื่อมวลชนได้ทำหน้าที่ไปตามความเป็นจริง ส่วนบุคคลที่ให้สัมภาษณ์ ก็ยึดมั่นในหลักความจริง ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า สำหรับพฤติกรรมการลงโฆษณาอวดอ้างอิทธิปาฏิหาริย์ของวัดพระธรรมกายนั้น นายทองใบกล่าวว่า เมื่อพิจารณาให้ดีแล้วถือได้ว่าเป็นการชักนำให้ศาสนาเสื่อมเสีย และเป็นการสร้างความเข้าใจในหลักพุทธศาสนาไปในทางที่ผิด จะทำให้พุทธศาสนิกชน หลงทางเป็นการบิดเบือนหลักธรรม "การอวดอ้างอิทธิปาฏิหาริย์หรือการส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนลุ่มหลงในวัตถุ เป็นการชักนำไปในทางที่ผิด เพราะหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ได้ให้ลุ่มหลงในอิทธิปาฏิหาริย์ หรือการสร้างวุตถุมงคล การสร้างเจดีย์ที่ ใหญ่โตแต่อย่างใด เพราะสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้ช่วยให้คนละบาป หรือทำความดีได้" นายทองใบกล่าวว่า โดยเนื้อแท้แล้ว หากจะว่ากันตามความเข้าใจของชาวบ้านธรรมดาๆ เพียงแค่ส่งเสริมให้รักษาศีล 5 ซึ่งเป็นพื้นฐานคำสอนเบื้องต้นของพระพุทธองค์ ก็ถือว่าเป็นการปฏิบัติตามหลักธรรมที่ถูกต้องแล้ว ไม่ใช่การส่งเสริมให้สามารถ มีฤทธิ์เดชปาฏิหาริย์ หรือแข่งกันบริจาคทาน สร้างวัตถุบูชาใหญ่โตมโหฬาร ซึ่งแทนที่จะนำเงินทองที่ใช้จ่ายในการโฆษณาอวดอ้างอิทธิปาฏิหาริย์ หรือรวบรวมเอา ไปสร้างมหาเจดีย์ ฯลฯ ควรนำเงินส่วนนั้นมาส่งเสริมประชาสัมพันธ์ ให้คนรักษาศีล 5 อย่างยึดมั่น และขยายผลจนรักษาศีลในระดับสูงๆ ต่อไปดีกว่า เป็นการช่วยเหลือ ตัดต้นตอของปัญหาสังคม คนไม่ต้องเบียดเบียน ฆ่าฟันกัน ให้เกิดความฌกลาหล สร้างปาบหนาสาหัสกันมากมาย โลกก็จะมีความสุขกันถ้วนทั่ว "พุทธศาสนาไม่ใช่หนังจีน จะได้มาโม้อวดอ้างเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์กัน ใครที่ทำอย่างนี้ ถ้าแน่จริงต้องปฏิบัติได้ ตัวเองต้องมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ เหาะเหินเดินอากาศได้ด้วย ซึ่งถ้าทำไม่ได้ตามที่อวดอ้างก็ถือว่าเป็นคนที่พูดปดมดเท็จ ผิดศีล 5 ตามคำสอนพระพุทธเจ้า" ------------------------------------------------------------------------- หนังสือพิมพ์ สยามธุรกิจ ฉบับวันที่ 15-21 พฤศจิกายน 2541 หน้า 1 (ต่อหน้า 4) อัด 'วัดธรรมกาย' ทำศาสนาเสื่อม ทนายแมกไซไซระบุบิดเบือน 'หลักธรรม'