Re: คัดลอกจาก น.ส.พ. มติชน 15/2/2542 ตอนที่4


[ Follow Ups ] [ Post Followup ] [ WWWBoard ]

Posted by ผู้สนใจ on February 14, 1999 at 09:41:55 :

In Reply to: Re: คัดลอกจาก น.ส.พ. มติชน 15/2/2542 ตอนที่3ผู้สนใจ on February 14, 1999 at 09:34:49:

บทส่งท้าย

บางท่านกล่าวว่า ที่นั่นเขาต้องมีอะไรดีซิ จึงมีคนที่มีการ
ศึกษาสูงๆไปกันมาก

คำกล่าวอย่างนี้เป็นข้อที่ทำให้โต้เถียงกัน เพราะบางคนก็
กลับพูดแย้งในทางตรงข้ามว่า ที่พูดนั้นน่าสงสัย ถ้าว่าโดย
อัตราส่วนแล้ว คนมีการศึกษาสูงไปมากจริงหรือเปล่า ถ้า
วิเคราะห์กันให้ดีจะเป็นไปในทางตรงข้ามหรือเปล่า ว่าที่นั่น
คนมีการศึกษาสูงๆ ส่วนมากไม่ไป แล้วก็เลยได้โต้เถียงกันอยู่
นั่นไม่จบสิ้น

ที่จริงเรื่องที่น่าพิจารณา คือปัญหาในวงกว้าง ไม่เฉพาะ
เรื่องของวัดพระธรรมกายเท่านั้นแต่เป็นปัญหาของสังคมทั้ง
หมด โดยเฉพาะสังคมไทยของเรานี้

เวลานี้ อย่างที่รู้กันอยู่ เมื่อสังคมเจริญสูงทางวัตถุ คนกลับมี
ปัญหาจิตใจมาก ในสภาพเช่นนี้วิธีแก้ปัญหาทางจิตด้วยวิธี
การง่ายๆ ทางวัตถุก็มาก่อน เช่นการใช้ยา การพึ่งสุรา ยาเสพติดการมั่วสุมหรือไม่ก็ทำร้ายตนเอง จนถึงฆ่าตัวตาย

คนอีกพวกหนึ่งที่อาจถือว่าดีขึ้นมาหน่อย ก็หาวิธีแก้ปัญหา
ทางจิตใจนั้น ด้วยวิธีการทางจิตซึ่งช่วยให้รู้สึกว่ามีความหวัง
มีกำลังใจ มีสิ่งปลอบประโลมใจหรือกล่อมใจ ตลอดจนสิ่งที่
ให้ความรู้สึกว่าได้ที่พี่ง ซึ่งช่วยให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น
หรือดึงตัวเองหลุดหลบออกไปจากปัญหาหรือความทุกข์ได้
นอกจากสิ่งที่ให้ความหวังแล้ว ก็รวมไปถึงสิ่งลึกลับ ความเชื่ออำนาจดลบันดาลต่างๆ ตลอดจนสมาธิที่ใช้เพื่อมุ่งผลทาง
จิต

วิธีการทางจิตเหล่านี้ ถ้าไม่ระวังให้ดีจะก่อปัญหาได้มาก
ลักษณะทั่วไปก็คือ เป็นการพึ่งพาไม่ว่าจะพึ่งพาด้วยการผูกใจ
อยู่กับความหวัง หรือพึ่งพาความเชื่อในสิ่งลึกลับอำนาจดล
บันดาลก็ตามและอยู่กับความกล่อมใจหรือทำให้ดื่มด่ำเข้าไป
แล้วหลบทุกข์ลืมปัญหาไปได้

เรื่องนี้สอดคล้องกับสภาพของสังคมยุคนี้ หรือสังคมนี้
อีกอย่างหนึ่ง คือการที่คนทั้งหลายมักปฏิบัติต่อสถานการณ์
ต่างๆด้วยความรู้สึกหรืออารมณ์ มากกว่าจะใช้เหตุผลหรือ
ปัญญา เพราะฉะนั้นตัวแรงจูงใจที่จะให้ตัดสินใจทำอะไร
หรือไปไหน จึงมักจะเป็นเรื่องของความต้องการทางจิตใจ
มากกว่าการที่จะใช้ปัญญา หรือต้องการแสวงปัญญา

การดิ้นรนหาทางออกจากปัญหาจิตใจด้วยวิธีการทางจิตนี้
เป็นสุดโต่งอีกด้านหนึ่ง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาด้านหนึ่ง แต่กลับ
ก่อให้เกิดปัญหาใหม่ ซึ่งอาจจะร้ายแรงและยืดเยื้อมากกว่า
และข้อสำคัญคือไม่เป็นวิธีที่จะแก้ปัญหาได้จริง นอกจากทำ
ให้เกิดการพึ่งพา และเป็นการกล่อมใจแล้ว โทษที่ทางพระ
พุทธศาสนาถือว่าร้ายแรงมากก็คือ ทำให้ตกอยู่ในความ
ประมาท และเป็นการแก้ปัญหาแบบชั่วคราวหรือกลบปัญหา
ไม่พ้นไปจากปัญหาได้จริง เพราะเป็นวิธีกดทับไว้ดังที่ท่าน
เปรียบว่า "เหมือนเอาหินทับหญ้า"

พระพุทธศาสนาไม่ได้ปฏิเสธการแก้ปัญหาด้วยวิธีการทาง
จิต วิธีการทางจิตนั้นไม่ใช่ว่าผิดแต่ไม่เพียงพอ และต้องใช้
ในขอบเขตที่พอดี คือพอให้จิตใจได้พัก ทำให้จิตใจผ่อน
คลายสงบหายเร่าร้อน กระวนกระวายว้าวุ่น และมีกำลังขึ้น
คือเป็นเครื่องเตรียมจิตใจให้พร้อม แล้วต้องต่อด้วยวิธีการ
ทางปัญญา เพื่อแก้ปัญหาดับทุกข์ให้จบสิ้นไป

อย่ามัวเถียงกัน อย่ามาอ้างกันเลยในเรื่องการศึกษาสูงๆ แต่
สังคมของเรานี้ ควรหันมาสำรวจตัวเองให้จริงจังว่า เหตุใด
เราจึงพัฒนาวัฒนธรรมทางปัญญาขึ้นมาไม่ได้

หนังสือพิมพ์ได้ตัดตอนมาจาก "กรณีธรรมกาย" ของพระ
ธรรมปิฏก โปรดพิจารณาและหาฉบับเต็มอ่านกันเอง



Follow Ups:



Post a Followup

Name:
E-Mail:

Subject:

Comments:

Optional Link URL:
Link Title:
Optional Image URL:


Click for a special Ad Club offer