บทความนี้อาจจะไม่มันแต่ชวนให้คิด (เหตุที่คนส่วนหนึ่งในสังคมเรายังงมงายและโดนหลอกง่าย...ไม่เฉพาะแต่กรณี TMK เท่านั้น)


[ Follow Ups ] [ Post Followup ] [ WWWBoard ]

Posted by แฟนประจำ ฯ on January 25, 1999 at 06:14:54 :

บุญติดจรวด : ฟินอมินอลิสติก คอซาลิตี
นพ. ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
นสพ. มติชนรายวัน ฉบับวันเสาร์ที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๔๒
=======================================================================
เคยแปลกใจมั้ยครับว่าเพราะอะไรคนที่เรียนสูง ๆ ถึงให้เหตุผลแปลก ๆ ได้ในบางครั้ง.
จะว่าไอคิวไม่ดีก็ไม่ใช่ จะว่างมงายก็ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว.
เดือนที่ผ่านมาได้ยินคำพูดต่อไปนี้มั้ยครับ "ทำบุญวัดนี้แรงดี ทำปุ๊บเห็นผลปั๊บ".
บางคนยกตัวอย่างว่าทำบุญแล้วกิจการค้าที่เคยร่อแร่ดีขึ้นในสองสัปดาห์. บางท่านว่าพอเริ่มนั่ง
สมาธิที่วัดนี้คุณพ่อหายป่วยใน ๑ เดือน. สังเกตว่าคนแรกนั้นคิดว่ากิจการดีขึ้นเพราะ "ตนเอง"
ไม่ใช่เพราะเจ้าหนี้ใจดียืดเวลาชำระหนี้. ส่วนท่านที่สองคิดว่าคุณพ่อหายป่วยเพราะ "ตนเอง"
เช่นเดียวกัน ไม่ใช่เพราะคุณหมอหรือพยาบาลดูแลดี.
=======================================================================
คนที่มีกระบวนการให้เหตุผลแบบนี้ได้ต้องมีคุณสมบัติ ๒ ข้อ
๑. เขามักคิดว่าอะไรต่อมิอะไรที่เกิดขึ้นในจักรวาลมีความเกี่ยวพันกับตนเองไม่มากก็น้อย.
เราเรียกความคิดที่ชอบทึกทักเอาว่าตนเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาลเช่นนี้ว่า อีโกเซนตริก (Egocentric).
สาเหตุที่เขาไม่ยอมคิดว่ากิจการดีขึ้นเพราะเหตุอื่นหรือคุณพ่ออาการดีขึ้นเพราะคนอื่น
ก็เนื่องมากจากว่าในกระบวนการคิดของเขานั้นจักรวาลไม่มีอะไรที่เรียกว่า "อื่นๆ".
เป็นลักษณะความคิดของเด็กไม่เกิน ๓ ขวบ.

อธิบายว่า เด็กเมื่อเกิดมานั้นร่างกายและจิตใจยังรวมเป็นหนึ่งกับคุณแม่. คุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วย
ตนเองอย่างดีใน ๓ ขวบปีแรก จึงจะช่วยให้เด็กแยกตัวออกจากแม่และจักรวาลเป็นปัจเจก
ที่สมบูรณ์. ในทางตรงข้ามถ้าการเลี้ยงดูบกพร่องเด็กและแม่และจักรวาลยังคงรวมกันเป็นหนึ่ง.
ร่องรอยความคิดแบบอีโกเซนตริกนี้ก็หลงเหลือถึงวัยผู้ใหญ่.

อย่าเข้าใจผิด ! ผู้เขียนไม่ได้บอกว่าคนที่ให้เหตุผลแบบนี้เป็นคนเห็นแก่ตัวนะครับ. คนที่เห็นแก่
ตัวจะเป็นอีกลักษณะหนึ่ง. คนเห็นแก่ตัวและชอบดูดทรัพย์นั้นสามารถแยกได้แล้วว่าตนเองและ
จักรวาลเป็นอิสระซึ่งกันและกัน. คนเห็นแก่ตัวจึงสามารถดูดทรัพย์จาก"อื่นๆ"เข้าสู่"ตนเอง" ได้.
=======================================================================
๒. เขามักคิดว่าเหตุการณ์สองอย่างที่เกิดขึ้นพร้อมกันเป็นสาเหตุของกันและกัน. เราเรียกความ
คิดเช่นนี้ว่า ฟินอมินอลิสติก คอซาลิตี (Phenomenalistic Causality) เป็นลักษณะความคิดของ
เด็กไม่เกิน ๘ ขวบ. เคยเห็นการ์ตูนขำขันช่องเดียวจบทำนองนี้มั้ยครับ. เด็กยิงปืนฉีดน้ำขึ้น
ท้องฟ้า. เครื่องบินตกลงมาระเบิด. เด็กดีใจนึกว่าเป็นฝีมือของตนเอง.
การ์ตูนนี้ประกอบด้วย ๑) เด็กอายุไม่เกิน ๘ ขวบ ๒) เด็กคนนั้นคิดว่าอะไรที่เกิดขึ้นตรงหน้ามี
ความเกี่ยวพันกับตนเอง และ ๓) เด็กคนนั้นคิดว่าเหตุการณ์สองอย่างที่เกิดขึ้นพร้อมกันเป็น
สาเหตุของกันและกัน.
ยกอีกตัวอย่างหนึ่ง. เป็นการหย่าร้างที่เกิดขึ้นเมื่อลูกอายุไม่เกิน ๘ ขวบมักนำมาซึ่งอารมณ์เศร้าที่
รุนแรงในเด็ก. เพราะเด็กจะคิดว่า "คุณพ่อคุณแม่แยกทางกันเพราะหนูไม่ทำการบ้านใช่มั้ยคะ"
เหตุการณ์นี้ประกอบด้วย ๑) เด็กอายุไม่เกิน ๘ ขวบ ๒) เด็กคิดว่าตนเองเป็นสาเหตุ ๓) เด็กนำ
เรื่องไม่ทำการบ้านและเรื่องพ่อแม่แยกทางมาเรียงต่อกันแล้วทึกทักว่าเป็นเหตุผลซึ่งกันและกัน.

ความคิดแบบฟินอมินอลิสติกคอซาลิตีเป็นของธรรมดาในเด็กวัยก่อน ๘ ขวบ. แต่ยุ่งมากเมื่อมัน
หลงเหลือมาจนถึงวัยผู้ใหญ่. เป็นสาเหตุของการพูดกันไม่รู้เรื่องในที่ประชุมของหน่วยงานต่างๆ.
เวลาเข้าห้องประชุมครั้งต่อไปลองสังเกตุวิธีให้เหตุผลของคนบางคนสิครับ. ถ้ารู้สึกว่าฟังไม่รู้เรื่อง
เมื่อไร เป็นเพราะการให้เหตุผลในบางครั้งของคนบางคนยังใช้วิธีนี้อยู่. คือเอาเหตุการณ์สองเหตุ
การณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกันหรือไล่เลี่ยกันมาวางต่อกันเหมือนการ์ตูนสองช่องจบ.
ทำไมสังคมเรามีผู้ใหญ่ที่ใช้วิธีให้เหตุผลแบบนี้เยอะนัก ?
น่าจะเป็นเพราะเด็ก ๔ - ๘ ขวบบ้านเราได้เล่นน้อยเกินไปหรือเปล่า. เรียนมากเกินไปหรือเปล่า.
เพราะการเล่นที่มากพอจะช่วยให้เด็กใช้เหตุผลแบบนี้อธิบายปรากฎการณ์ตรงหน้าอยู่เรื่อย ๆ
จนกระทั่งจุใจ. จุใจอิ่มใจเมื่อไหร่ก็เลิก, และเริ่มต้นพัฒนาการให้เหตุผลในระดับที่สูงขึ้นต่อไป.
หรือเป็นเพราะเด็ก ๆ ของเราอ่านการ์ตูนกันน้อยเกินไป.เรียนมากเกินไป. เพราะเวลาอ่านการ์ตูน
มักถูกพ่อแม่หรือคุณครูริไป. แต่ถ้าอ่านหนังสือแบบเรียนจึงจะได้รับการชมเชย.

อ้าว ! พูดจริงนะครับ ไม่ได้พูดเล่น. กระบวนการให้เหตุผลแบบฟินอมินอลิสติกคอซาลิตี
มีลักษณะเหมือนการเรียงช่องการ์ตูนในหนังสือจากช่องที่๑ ไป ๒. จากช่องที่ ๒ ไป ๓. จากช่องที่
๓ ไปช่องที่ ๔. กว่าจะถึงช่องที่ ๓๐๐ ก็อิ่มกับการให้เหตุผลแบบนี้พอดี. อ่านบ่อย ๆ จะได้จุใจ
อิ่มใจจะได้เลิก. และเริ่มต้นพัฒนาการให้เหตุผลในระดับที่สูงขึ้นต่อไป. เด็กอ่านการ์ตูนสนุก
เพราะสมองของเขาทำงานในลักษณะนี้คือ ช่อง ๑ เป็นสาเหตุของช่อง ๒. ช่อง ๒ เป็นสาเหตุ
ของช่อง ๓. ช่อง ๓ เป็นเหตุของช่อง ๔. ผู้ใหญ่หลายคนอ่านการ์ตูนไม่รู้เรื่องเลย. ช่อง ๑ ไปหา
ช่อง ๒ ได้อย่างไรไม่เข้าใจ. ช่อง ๒ แล้วให้อ่านช่องไหนต่อไม่รู้เรื่อง. เพราะผู้ใหญ่เลิกคิดแบบ
ฟินอมินอลิสติก คอซาลิตี ไปนานแล้ว.
=======================================================================
"ทำบุญวัดนี้แรงดี ทำปุ๊บเห็นผลปั๊บ" ประโยคคำพูดนี้จึงประกอบด้วยสองส่วน ส่วนแรกคือ
"ตนเอง" เป็นสาเหตุ และส่วนที่สองคือ "ทำบุญ" จับเรียงต่อกับ "ผลบุญ" แบบทันทีทันควัน
เขียนมาทั้งหมดนี้ไม่ได้แปลว่าให้เลิกทำบุญ. ถ้าคิดแบบนี้ก็เหมือนการ์ตูนสองช่องจบเช่นกัน.


Follow Ups:



Post a Followup

Name:
E-Mail:

Subject:

Comments:

Optional Link URL:
Link Title:
Optional Image URL:


Click for a special Ad Club offer